สตง. วันนี้ ( 19 ต.ค.) นางสาวรจนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ยื่นหนังสือต่อประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน โดยมีนางสาวน้อมจิตร์ สังข์ด่านจาก ที่ปรึกษาการตรวจเงินแผ่นดินเป็นตัวแทนมารับหนังสือ เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณีแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทของรัฐบาล มีปัญหามิชอบด้วยกฎหมายและอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของรัฐ โดยเป็นอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินที่จะดำเนินการระงับยับยั้งหากก่อให้เกิดความเสียหายต่อการเงินการคลังของรัฐและขาดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นางสาวรสนา อ้างเหตุผล 6 ประการ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินการคลังของรัฐและอยากให้สตงตรวจสอบ คือ
1.ผลได้ไม่คุ้มเสีย ซึ่งนักวิชาการและอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยก็ออกมาแสดงความคิดเห็น โดยเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลมาแจกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะการบริโภค แต่ควรนำไปทำนโยบายที่ยั่งยืนและเกิดผลระยะยาวมากกว่า
2.น่าขัดต่อพระราชบัญญัติเงินตรา
เนื่องจากการแจกเงินดิจิตอล token ยังเกิดความสับสนว่าเป็นเงินตราสกุลใหม่ หรือเป็นสิทธิการใช้เงินแบบดิจิทัล ซึ่งอาจจะเป็นการสำแดงที่ไม่จริง สำแดงว่าเป็นเงินดิจิทัล แต่จริงๆเป็นระบบเงินใหม่
3.เพิ่มความสิ้นเปลืองแก่ประเทศโดยไม่จำเป็น โดยเห็นว่าการสร้างระบบใหม่อย่างบล๊อคเชน เป็นการใช้เงินมหาศาล และหากทำโครงการนี้แล้วไม่ทำอะไรต่อเนื่องเป็นการเสียเงินเปล่า ทั้งที่ดิจิทัลวอลเล็ตมีอยู่แล้ว และการจะนำเงินภาษีมาใช้เพื่อทำบล๊อคเชนก็เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
4.หลีกเลี่ยงหลักการใช้เงินแผ่นดิน โดยระบุว่าจะใช้เงินแผ่นดิน จำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 140 ที่ระบุว่าจะต้องนำเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการงบประมานให้ที่ประชุมรัฐสภายอมรับ แต่การที่รัฐบาลจะแจกเงินตั้งแต่เดือนเมษายนแสดงว่าจะไม่นำเรื่องนี้เข้าสู่งบประมาณ
5.ซุกหนี้สาธารณะ ที่ดูจากรัฐบาลประกาศจะใช้ธนาคารออมสินกู้เงินแทน แล้วนำเงินมาใช้ เห็นว่าน่าจะหลีกเลี่ยงการตรวจสอบและซุกหนี้สาธารณะ และเชื่อว่าธนาคารออมสินก็ไม่น่าจะมีหลักการในลักษณะดังกล่าว
และ 6.ขัดกับ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ มาตรา 9 วรรค 3 โดยรัฐบนสาวบจะต้องไม่ใช้งบประมาณแผ่นดินไปใช้ในการหาเสียง ซึ่งการสแจกเงินให้เด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป คิดว่าเป็นการหาเสียงทางการเมือง เปียบเสมือนกับการตกเขียว เด็กอายุ 16 ปี อีก 4 ปีข้างหน้าก็อายุ 20 ปี และการแจกเงินให้คนทั้งหมดโดยไม่เลือกน่าจะขัดต่อระเบียบและกฎหมาย
ซึ่งจากเหตุผล 6 ข้อดังกล่าว ส่งผลให้โครงการฯน่าจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ รวมทั้งพระราชบัญญัติเงินตรา ก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจและการเงินการคลังของรัฐอย่างร้ายแรง
นางสาวรสนา กล่าวว่า จึงได้มาร้องเรียนต่อผู้ตรวจเงินแผ่นดิน สั่งการให้ตรวจสอบเป็นการเร่งด่วนและขอให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จัดประชุมร่วมกับ กกต. และ ป.ป.ช เพื่อระงับหรือยับยั้งการดำเนินการดังกล่าวตามมาตรา 8 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
“ที่ผ่านมาเราเห็นประชาชนและนักวิชาการ ออกมาคัดค้านแต่รัฐบาลไม่ฟัง เพราะฉะนั้นจึงต้องดำเนินการตามกฎหมายที่มีอยู่ เพราะถ้าเกิดความเสียหายจริงและขัดกฎหมาย เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นที่สามารถยุติได้ เราควรจะล้อมคอกก่อนวัวหาย ไม่ใช่วัวหายแล้วค่อยไปจับคนมาติดคุก ซึ่งในกรณีเรื่องจำนำข้าว เราก็เห็นว่ารัฐมนตรีติดคุกถึง 48 ปี จะมีประโยชน์อะไรในเมื่อเงินเราก็สูญสลายไปหมดแล้ว ในฐานะประชาชนเจ้าของภาษี ที่รัฐบาลต้องนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน” นางสาวรสนา กล่าว
นางสาวรสนา ยังกล่าวว่าการดำเนินโครงการดังกล่าวมีความพยายามหลีกเลี่ยงเข้าสู่กระบวนการงบประมาณ ทั้งที่รัฐบาลยืนยันหนักแน่นว่าจะเริ่มแจกเงินตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 ก็มีความชัดเจนว่ารัฐบาลไม่ต้องการที่จะนำโครงการนี้เข้าสู่กระบวนการงบประมาณของรัฐสภาใช่หรือไม่ ดังนั้นหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบน่าจะตรวจสอบได้ และถ้าพบว่าไม่ปกติหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีอำนาจในการที่จะสั่งการในเรื่องนี้ต่อไป
นางสาวรสนา ยังได้ขึ้นไปหารือกับผู้แทน สตง. และเปิดเผยว่า สตง.แจ้งว่าจะต้องรอให้รัฐบาลมีมติ ครม.ก่อน เพราะขณะนี้ยังไม่มีรายละเอียดชัดเจน ว่าจะดำเนินโครงการอย่างไร จะนำเงินส่วนไหนมาใช้จ่าย หากมีรายละเอียดก็จะเข้าสู่การตรวจสอบ ซึ่ง สตง.ก็มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาแล้ว ในการดูโครงการนี้ พร้อมย้ำวว่าการมาร้องเพื่อให้ สตง.ทำตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งกรณีก็อาจจะเป็นทางลงให้กับรัฐบาลก็ได้ เพราะหาเสียงมา หากไม่ทำหรือถอยก็จะเสีย แต่หากการตรวจสอบออกมาแล้วไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นการถกเถียงด้วยข้อกฎหมาย ไม่ใช่ด้วยอารมณ์
นอกจากนี้ นางสาวรจนา จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึงประธาน กกต.และประธาน ป.ป.ช.ให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบด้วย