วันศุกร์, กันยายน 20, 2024
หน้าแรกคอลัมนิสต์สันติ ตั้งรพีพากร 陈俊泰เมื่อ “สีจิ้นผิง” กับ “เหงิยนฟู่จ่อง”

Related Posts

เมื่อ “สีจิ้นผิง” กับ “เหงิยนฟู่จ่อง”

@suebjarkkhao

เมื่อ “สีจิ้นผิง” กับ ”เหงียน ฟู่ จ่อง” “จูงมือสร้างอนาคตร่วมกัน” ระวังไทย “จะหลุดโอกาส” เส้นทางรถไฟ “แหลมอินโดจีน” “….สีจิ้นผิงได้ย้ำชัดถึงการตัดสินใจของจีนและเวียดนามที่ยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นสู่ระดับใหม่ที่มุ่งสร้างอนาคตร่วมกัน ว่ามีจุดเริ่มต้นที่จะฟื้นฟูสังคมนิยมโลกให้รุ่งเรือง และความวัฒนาถาวรของสองประเทศเป็นหลักใหญ่ และแสดงบทบาทผู้บุกเบิกสร้างความเจริญก้าวหน้าของสังคมโลก เวียดนามเป็นประเทศลำดับที่ 7 ที่ได้ตกลงร่วมหัวจมท้ายกับจีน ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น รวมทั้งลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ก็เช่นเดียวกัน จึงเท่ากับว่า ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงทั้งห้าต่างพากันลงเรือลำเดียวกันแล้ว จับมือกันสร้างอนาคตร่วมกัน ตัวเราเองในฐานะผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันกับจีนเห็นทีจะต้องเร่งปรับตัวเองอย่างทั่วด้านเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าเมื่อพิจารณาระบบกลไกที่ขับเคลื่อนตัวเราเองก็ต้องถอนหายใจ เพราะดูแต่การบริหารการปกครองที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองและระบบราชการของเราแล้ว ยังแตกต่างอย่างมากกับของจีนและเวียดนาม อีกนัยหนึ่ง ของเราแตกแยกกระจัดกระจาย รวมกำลังกันทำเรื่องใหญ่ยาก ยิ่งเมื่อเวียดนามตัดสินใจให้จีนช่วยสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจากเหนือลงใต้เมื่อใด ภูมิทัศน์เส้นทางรถไฟในแหลมอินโดจีนก็จะเปลี่ยนไป แทนที่ประเทศไทยจะเป็นสายหลัก ก็อาจจะเป็นสายรองไปโดยปริยาย…”

♬ เสียงต้นฉบับ – Suebjarkkhao – Suebjarkkhao

“….สีจิ้นผิงได้ย้ำชัดถึงการตัดสินใจของจีนและเวียดนามที่ยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นสู่ระดับใหม่ที่มุ่งสร้างอนาคตร่วมกัน ว่ามีจุดเริ่มต้นที่จะฟื้นฟูสังคมนิยมโลกให้รุ่งเรือง และความวัฒนาถาวรของสองประเทศเป็นหลักใหญ่ และแสดงบทบาทผู้บุกเบิกสร้างความเจริญก้าวหน้าของสังคมโลก เวียดนามเป็นประเทศลำดับที่ 7 ที่ได้ตกลงร่วมหัวจมท้ายกับจีน ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น รวมทั้งลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ก็เช่นเดียวกัน จึงเท่ากับว่า ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงทั้งห้าต่างพากันลงเรือลำเดียวกันแล้ว จับมือกันสร้างอนาคตร่วมกัน  ตัวเราเองในฐานะผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันกับจีนเห็นทีจะต้องเร่งปรับตัวเองอย่างทั่วด้านเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าเมื่อพิจารณาระบบกลไกที่ขับเคลื่อนตัวเราเองก็ต้องถอนหายใจ เพราะดูแต่การบริหารการปกครองที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองและระบบราชการของเราแล้ว ยังแตกต่างอย่างมากกับของจีนและเวียดนาม อีกนัยหนึ่ง ของเราแตกแยกกระจัดกระจาย รวมกำลังกันทำเรื่องใหญ่ยาก ยิ่งเมื่อเวียดนามตัดสินใจให้จีนช่วยสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจากเหนือลงใต้เมื่อใด ภูมิทัศน์เส้นทางรถไฟในแหลมอินโดจีนก็จะเปลี่ยนไป แทนที่ประเทศไทยจะเป็นสายหลัก ก็อาจจะเป็นสายรองไปโดยปริยาย…”

จูงมือสร้างอนาคตร่วมกัน 携手共建命运共同体

ภาพสีจิ้นผิงกับเหงิยนฟู่จ่องจูงมือกันตลอดเวลาขณะเดินไปด้วยกัน คงจะเป็นภาพเฉพาะระหว่างผู้นำของสองประเทศสังคมนิยมนี้เท่านั้น เพราะทั้งจีนและเวียดนามในประวัติศาสตร์ยุคใหม่เริ่มต้นการปฏิวัติต่อสู้ขับไล่อำนาจครอบงำของมหาอำนาจตะวันตกเคียงคู่กันมา สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งขับไล่ทั้งฝรั่งเศสและสหรัฐฯออกจากอินโดจีนได้ในที่สุด แม้ต่อมาจะบาดหมางกันบ้างในปัญหาชายแดนและเกาะเล็กเกาะน้อยในทะเลจีนใต้ แต่ก็สามารถตกลงกันได้โดยยึดถือเอาผลประโยชน์ร่วมกันเป็นที่ตั้ง โดยเฉพาะคือทั้งสองประเทศมีพรรคคอมมิวนิสต์ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์ลัทธิมาร์กซ์ใช้อำนาจบริหารปกครองประเทศ มุ่งมั่นสร้างสรรค์ระบอบสังคมนิยมที่เจริญรุ่งเรือง เป็นแบบอย่างการพัฒนาประเทศให้ทันสมัยอย่างแท้จริงแก่ประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลก

ซึ่งทั้งสองประเทศกำลังเป็นที่จับตาของคนทั้งโลก

ความสำเร็จของการเยือนเวียดนามของผู้นำจีนครั้งนี้ ถ้าดูจากการลงนามในข้อตกลงต่างๆ หลายสิบฉบับก็นับว่ามากมาย แต่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือบรรยากาศที่แสนอบอุ่นสนิทสนมที่แผ่คลุมไปทั่วกรุงฮานอย และคำพูดสะท้อนความจริงใจที่เปล่งออกมาจากทั้งสองฝ่าย รวมทั้งใบหน้าอันยิ้มแย้มและภาษากายที่แทบไม่ต้องตีความ ล้วนได้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงการก้าวเข้าสู่ขั้นใหม่ของความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเวียดนาม ว่านับแต่นี้ไป สองประเทศจะประสานความร่วมมือกันในทุกๆด้าน ร่วมเดินไปบนเส้นทางของการสร้างอนาคตร่วมกัน ร่วมชะตากรรมเดียวกัน

จุดที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือในการกล่าวคำปราศรัยต่อตัวแทนเยาวชนเวียดนาม สีจิ้นผิงได้ย้ำชัดถึงการตัดสินใจของจีนและเวียดนามที่ยกระดับความสัมพันธ์ขึ้นสู่ระดับใหม่ที่มุ่งสร้างอนาคตร่วมกัน ว่ามีจุดเริ่มต้นที่จะฟื้นฟูสังคมนิยมโลกให้รุ่งเรือง และความวัฒนาถาวรของสองประเทศเป็นหลักใหญ่ พร้อมกับเรียกร้องให้สร้างอนาคตร่วมกันกับประเทศต่างๆในย่านเอเชียแปซิฟิก และแสดงบทบาทผู้บุกเบิกสร้างความเจริญก้าวหน้าของสังคมโลก

ความเป็นพรรคลัทธิมาร์กซ์และระบอบสังคมนิยมคือจุดร่วมพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างสองฝ่าย ความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสังคมที่กำลังพัฒนาขยายตัวอย่างรวดเร็วคือเนื้อหาของความร่วมมือกันในขั้นใหม่ ซึ่งความสัมพันธ์สองชั้นเช่นนี้มีความหมายพิเศษที่หาได้ยาก และเมื่อบวกกับความผูกพันทางใจอันลึกซึ้งและนับถือกันเป็นพี่เป็นน้องที่สั่งสมมาตั้งแต่การเคลื่อนไหวปฏิวัติ ที่ เหมาเจ๋อ ตง และโฮจิมินห์ร่วมกันสร้างขึ้นมา จึงกลายเป็นกาวใจแน่นปึ๊กของความสัมพันธ์ขึ้นใหม่ของจีนกับเวียดนาม นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

เมื่อมองการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายการสร้างอนาคตร่วมกันของมวลมนุษยชาติ (人类命运共同体)ที่จีนนำเสนอมาเมื่อ10ปีที่แล้ว เวียดนามเป็นประเทศลำดับที่ 7 ที่ได้ตกลงร่วมหัวจมท้ายกับจีน ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ประเทศเพื่อนบ้านเราทั้งลาว กัมพูชา เมียนมาร์ ก็เช่นเดียวกัน จึงเท่ากับว่า ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงทั้งห้า (ในเขตจีนเรียกแม่น้ำล้านช้าง) ต่างพากันลงเรือลำเดียวกันแล้ว จับมือกันสร้างอนาคตร่วมกัน

สะท้อนถึงความสำคัญที่จีนเน้นเป็นพิเศษต่อประเทศเพื่อนบ้านย่านคาบสมุทรอินโดจีน ซึ่งตามระดับความสัมพันธ์อันแนบแน่นชนิดร่วมชะตากรรมกันแล้ว ย่อมหมายถึงว่าความเจริญรุ่งเรืองของฝ่ายหนึ่งจะต้องเอื้อให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเสมอ

ความสัมพันธ์เช่นนี้ ช่วยให้เราทอดสายตาไปสู่อนาคตอันยาวไกล ด้วยความก้าวหน้าล้ำยุคไปอย่างรวดเร็วของจีนในแทบทุกด้าน ตัวเราเองในฐานะผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันกับจีนเห็นทีจะต้องเร่งปรับตัวเองอย่างทั่วด้านเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าเมื่อพิจารณาระบบกลไกที่ขับเคลื่อนตัวเราเองก็ต้องถอนหายใจ เพราะดูแต่การบริหารการปกครองที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองและระบบราชการของเราแล้ว ยังแตกต่างอย่างมากกับของจีนและเวียดนาม อีกนัยหนึ่ง ของเราแตกแยกกระจัดกระจาย รวมกำลังกันทำเรื่องใหญ่ยาก ดูอย่างรถไฟความเร็วสูง ทำท่าป้อแป้ๆ ขณะที่เวียดนามที่พลาดจากญี่ปุ่น พอสรุปผลได้ก็สามารถตัดสินใจร่วมมือกับจีนแบบครบวงจร สามารถคาดหมายความสำเร็จได้อย่างชัดเจน แม้แต่เสียงเสนอให้มีการสร้างเส้นทางเชื่อมเวียงจันทน์-พนมเป็ญ-โฮจิมินห์ แล้วลอดอุโมงค์ผ่านอ่าวไทยไปเชื่อมทางรถไฟมาเลเชียที่กำลังสร้างอยู่ ก็ได้สร้างแรงสะเทือนอย่างมากต่อโครงการรถไฟไทย เนื่องเพราะหากเป็นเช่นนั้นจริง โอกาสที่เราจะหลุดวงโคจรความเจริญยุคใหม่จากจีนก็มีสูง เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่สามารถก้าวเท้าเดินหน้าไปพร้อมกับจีนได้ดีกว่า ยิ่งเมื่อเวียดนามตัดสินใจให้จีนช่วยสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจากเหนือลงใต้เมื่อใด ภูมิทัศน์เส้นทางรถไฟในแหลมอินโดจีนก็จะเปลี่ยนไป แทนที่ประเทศไทยจะเป็นสายหลัก ก็อาจจะเป็นสายรองไปโดยปริยาย

เปรียบเหมือนเส้นเลือดใหญ่จากจีนจะพุ่งผ่านไปทางลาว-กัมพูชา-เวียดนาม แล้วข้ามไปยังมาเลเซีย-สิงคโปร์-อินโดนีเซีย โดยไม่ต้องผ่านมายทางประเทศไทย ซึ่งต้องอ้อมไกลมากกว่า

ไขคำจีน

携手 เสียโส่ว จูงมือ

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts