วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนเปิดตัว บ.สายส่งไฟฟ้าแห่งชาติลาว รสก.จีนถือหุ้นใหญ่ 90%

Related Posts

เปิดตัว บ.สายส่งไฟฟ้าแห่งชาติลาว รสก.จีนถือหุ้นใหญ่ 90%

ในช่วงค่ำของวันที่ 29 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมแลนด์มาร์ค แม่โขง ริเวอร์ไซด์ นครหลวงเวียงจันทน์ ได้มีพิธีเปิดตัวบริษัทสายส่งไฟฟ้าแห่งชาติลาว (Electricite du Laos Transmission : EDL-T) อย่างเป็นทางการ โดยมีนายโพไซ ไซยะสอน รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ ตัวแทนจากคณะกรรมการความร่วมมือลาว-จีน ขึ้นกล่าวบนเวทีว่า บริษัทสายส่งไฟฟ้าแห่งชาติลาว เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าลาว (Electricite du Laos : EDL) กับบริษัทโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าภาคใต้จีน (China Southern Power Grid : CSG) จัดตั้งขึ้นมาเพื่อเข้ารับสัมปทานจากรัฐบาลทำโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าแรงสูงตั้งแต่ 230 กิโลโวลต์ขึ้นไปในลาว ช่วยพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าของลาวให้มีเสถียรภาพในการสนองไฟฟ้าในลาว และเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าระหว่างลาวกับจีน รวมถึงประเทศรอบข้าง

“รัฐบาลลาวมีความคาดหวังว่า CSG ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน EDL-T จะนำเอาความรู้ ความชำนาญ และทุนอันจำเป็นในการบริหารการส่งกระแสไฟฟ้าที่ทันสมัย รับประกันไม่ให้เกิดไฟตก จะมีการทำธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและมีกำไร”

@suebjarkkhao

เปิดตัว บ.สายส่งไฟฟ้าแห่งชาติลาว รสก.จีนถือหุ้นใหญ่ 90%

♬ เสียงต้นฉบับ – Suebjarkkhao – Suebjarkkhao

ส่วนรัฐบาลลาว โดย EDL ได้เซ็นสัญญาร่วมทุนกับ CSG จัดตั้ง EDL-T หรือบริษัทสายส่งไฟฟ้าแห่งชาติลาวขึ้น เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 โดยในพิธีเซ็นสัญญาร่วมทุน เจี่ยง จ้ายต่ง เอกอัครราชทูตจีนประจำลาว ได้ขึ้นกล่าวว่า ปี 2563 ซึ่งจีนและลาวได้ร่วมเป็นประธานจัดประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่น้ำโขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 3 ที่ประชุมได้ผ่านแถลงการณ์เวียงจันทน์ที่มีเนื้อหาส่วนหนึ่งว่าจะส่งเสริมให้มีการเชื่อมโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าในกลุ่มประเทศแม่น้ำโขง-ล้านช้าง จึงได้มีการตกลงว่าจะตั้ง EDL-T ขึ้นมารับแนวทางนี้ไปปฏิบัติ

ในระหว่างการเซ็นสัญญามีข่าวรือมากมายแต่ถว่าประเด็นข่าวเหล่านั้นไม่เป็นความจริงโดยเฉพาะเขื่อนไฟฟ้าและสายส่งความจริงแล้วจีนไม่ได้เข้ามาทำการยึดครองเป็นเพียงความร่วมมือพัฒนาระบบสายส่งแรงสูงร่วมกันระหว่างลาวและจีนที่มีมานาน

โดยรัฐบาลลาว และ EDL ยืนยันว่าการควบคุม บริหารจัดการด้านพลังงานไฟฟ้า ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลลาว ไม่ใช่รัฐบาลประเทศอื่น ส่วนการเข้ามาของบริษัท CSG ที่จริงแล้วเป็นเรื่องที่ทางการจีนส่งรัฐวิสาหกิจของจีนเข้ามาช่วยเหลือรัฐบาลลาว ทั้งในแง่เทคนิค เงินทุน ซึ่งคาดว่าจะมีเงินเข้ามาลงทุนในระบบสายส่งไฟฟ้าของประเทศลาวเป็นจำนวนมาก เพื่อตอบสนองความต้องการไฟฟ้าที่นับวันเพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากภายในและจากประเทศ

หลายสิบปีมาแล้ว รัฐบาลลาวได้เปิดกว้างการลงทุนของภาคเอกชน โดยให้สัมปทานในแหล่งผลิตไฟฟ้า แต่ปัจจุบันได้เปิดให้สัมปทานสายส่งด้วย ส่วน EDL ยังเป็นผู้ควบคุมและสั่งการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ และตอบสนองนโยบายของบรรดาประเทศอาเซียน ในกรอบความร่วมมือด้านพลังงานที่ส่งเสริมให้มี Asean Power Grid หรือการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าระหว่างกัน

รัฐบาลลาวคาดหมายว่า ความร่วมมือระหว่างลาวและจีนจะสร้างโอกาสด้านการตลาดเพิ่มขึ้น โดยการขยายไฟฟ้าเข้าสู่จีนและกลุ่มประเทศ CLMV เพิ่มเติม หากระบบสายส่งไฟฟ้าสามารถเชื่อมโยงกันได้ทั้งหมด

สุดท้ายแล้ว ภายใต้รูปแบบสัมปทาน ทั้งระบบสายส่งและเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่ได้สร้างและเริ่มผลิตไฟฟ้าไปแล้ว ต่อไปในอนาคตจะถูกโอนเป็นทรัพย์สินของรัฐบาลลาวทั้งหมด ตามสัญญา BOT ซึ่งเป็นรูปแบบการลงทุนที่เป็นมาตรฐานสากล และคาดหมายว่า มูลค่าทรัพย์สินที่จะโอนเป็นของรัฐบาลลาวจะมีมูลค่ามหาศาล…”

มีการเปิดเผยข้อมูลต่อมาในภายหลังว่า โครงสร้างการถือหุ้นในบริษัทสายส่งไฟฟ้าแห่งชาติลาว มี CSG ถือหุ้น 90% และ EDL ถือหุ้น 10%

CSG หรือบริษัทโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าภาคใต้จีน ได้เริ่มเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าแรงสูงกับลาวมาตั้งแต่เริ่มการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าน้ำทา 1 ในแขวงบ่อแก้ว ภาคเหนือของลาว ประมาณปี 2553 จากโครงการส่งไฟฟ้า 2 ทิศทาง โดยเมื่อเขื่อนน้ำทา 1 สร้างเสร็จและเริ่มจ่ายกระแสไฟฟ้าแล้ว ในฤดูฝนจะมีการส่งไฟฟ้าส่วนเกินที่ผลิตได้จากเขื่อนน้ำทา 1 ผ่านโครงข่ายสายส่งของ CSG ไปยังมณฑลยูนนานของจีน ส่วนในฤดูแล้ง ซึ่งความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคเหนือของลาวมีมากกว่ากำลังการผลิต CSG จะส่งไฟฟ้าผ่านโครงข่ายจากจีนเข้ามาให้ลาว

ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน 2562 CSG และ EDL ได้เซ็นสัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัท Laos-China Power Investment Company ขึ้น เพื่อทำระบบสายส่งไฟฟ้าขนาด 115 กิโลโวลต์ตลอดเส้นทางรถไฟลาว-จีน ที่ยาวกว่า 400 กิโลเมตร เพื่อส่งกระแสไฟฟ้าให้ทางรถไฟสายนี้.

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts