วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
หน้าแรกคอลัมนิสต์วัชระ เพชรทองผิดปกติ “สร้างสภาไทย” วัชระ “กัดไม่ปล่อย” แจงถี่ยิบ

Related Posts

ผิดปกติ “สร้างสภาไทย” วัชระ “กัดไม่ปล่อย” แจงถี่ยิบ

วัชระยื่นหลักฐาน คกก.สืบสวนข้อเท็จจริงโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ตอกย้ำความเละเทะผู้อนุมัติขยายเวลาก่อสร้างขัดมติ ครม.-สุธิพลยอมรับก่อสร้างสภาไม่เสร็จปีนี้

(25 ก.พ.65)เมื่อเวลา 10.05 น.ที่อาคารรัฐสภา นายวัชระ เพชรทอง อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ส่งมอบเอกสารเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ พร้อมอาคารประกอบให้กับ นายวีรยุทธ เจริญกูล ประธานคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วย

1.บันทึกถ้อยคำของตนเอง เรื่องการสืบสวนข้อเท็จจริงในประเด็นเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ พร้อมอาคารประกอบ ลงวันที่ 1  ธ.ค. 64

2.เอกสารแนบประกอบคำให้การบันทึกถ้อยคำ ได้แก่ สำเนาคำให้การพยาน (ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) ศาลอาญากรุงเทพใต้ คดีหมายเลขดำที่ อ651/2564วันที่ 11 ต.ค. 64 ของ นายสุธิพล พัชรนฤมล เพื่อใช้ประกอบบันทึกถ้อยคำกรณี นายสุธิพล พัชรนฤมล ผู้อำนวยการโครงการฯ ของบริษัท ซิโน-ไทยฯ ให้การต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยยืนยันต่อศาลว่าในปีนี้การก่อสร้างอาคารรัฐสภาก็ยังคงสร้างไม่เสร็จ

3.สำเนาหนังสือบริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ที่ 645 (NPM) LET/SINO-THAI/084 ลงวันที่ 26 มี.ค.63 เรื่อง ขอสงวนสิทธิขยายระยะเวลาก่อสร้างโครงการ กรณีผลกระทบจากวิกฤตเชื้อไวรัส Covid-19 เพื่อใช้ประกอบบันทึกถ้อยคำให้การเพิ่มเติมรวมทั้งเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  มีข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญคือ การอ้างถึงสัญญาบริษัท ซิโน-ไทยฯ ว่าจ้างบริษัท เพาเวอร์ไลน์ฯ ดำเนินการก่อสร้างงานระบบประกอบอาคาร โครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ พร้อมอาคารประกอบ เลขที่ PO. No. G 277058-0-0ลงวันที่ 13 ก.พ.57 ซึ่งเป็นการจ้างช่วงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้างเลขที่ 116/2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งฝ่าฝืนพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

4.สำเนาหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0507/ /ว(ล) 40497 ลงวันที่ 15 ธ.ค.60 เรื่อง รายงานความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ณ พื้นที่ราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) ตั้งแต่วันที่ 31 พ.ค.60-31ส.ค.60 (ครั้งที่ 6/2560) เพื่อใช้ประกอบบันทึกถ้อยคำกรณีคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.60 และมติวันที่ 12 ธ.ค.60 ซึ่งระบุว่าให้การก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จภายในปี 2562  อันเป็นเอกสารยืนยันว่ารัฐสภาต้องสร้างเสร็จภายในปี 2562 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีอย่างชัดเจน

5.สำเนาหนังสือลงวันที่ 14 ต.ค.64 เรื่อง ขอให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีเงินตกหล่นอยู่ 500 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาท จากงบประมาณการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ พร้อมอาคารประกอบ เพื่อใช้ประกอบบันทึกถ้อยคำกรณีร้องเรียน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่าเรื่องดังกล่าวมีการกล่าวไว้โดยพิจารณาได้จากคำพูดของ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ขณะนั้น) ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 16 ก.ย.57  กล่าวว่า “เราจะพูดเรื่องไม่มีการทุจริตคอร์รัปชันไม่ได้เลย ถ้าเราที่นั่งทำงานและส่วนสำนักงานที่ต้องทำการเอื้อในการทำงานของพวกเราเป็นแหล่งทุจริตคอร์รัปชันเสียแล้ว นี่รวมถึงท่านประธานครับ ผมอยากฝากท่านนายกรัฐมนตรี ฝากคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ฝาก คสช. ทั้ง 15 ท่าน ท่านไปดูงบประมาณในการก่อสร้างรัฐสภามีเงินตก 2 ก้อนใหญ่เงินจำนวนมากตกไปกับผู้ที่รับไปแล้ว หลักร้อยและหลักพันครับ ใครรับไปผมไม่มีใบเสร็จแต่ข้อมูลนี้รับทราบกันดีในหมู่สมาชิกสภาชุดที่แล้วก็เรียนให้เป็นข้อมูล” และคำให้โอวาทของ ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ขณะนั้น) ในพิธีมอบนโยบายการบริหารราชการแก่คณะผู้บริหารของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 24 ก.ย.57 กล่าวว่า “รัฐสภาแห่งใหม่ มันเหมือนสิ่งที่หลอกหลอนผม ทั้งที่ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรด้วยเลย แต่ว่าต้องมาดู ดูแล้วก็แทบช็อกบอกว่าสร้างไป 6 เปอร์เซ็นต์เอง เมื่อแทบช็อกสร้างไป 6 เปอร์เซ็นต์ ผมก็เลยไปเอาสัญญามาดู เอามาดูก่อนที่ท่าน สนช. สมชายจะอภิปรายเมื่อวันก่อนว่ามีเงินตกหล่นอยู่ 500 ล้านบาท 1,000 ล้านบาท และมอบให้ผมไปควานหา ผมจะไปหาที่ไหน ผมก็เลยต้องตรวจดูสัญญา”

6.สำเนาคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 295/2559 ลงวันที่ 19 ธ.ค.2559 เรื่อง ยุติเรื่อง ลงนามโดย นายจิรชัย มูลทองโร่ย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อใช้ประกอบบันทึกถ้อยคำ กรณี นายจเร พันธุ์เปรื่อง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น ได้ถูกคำสั่งตามมาตรา 44 ให้ไปดำรงตำแหน่งที่ทำเนียบรัฐบาลโดยถูกกล่าวหาดำเนินการก่อสร้างอาคารรัฐสภาล่าช้า  มีข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญ คือ  กรณีปัญหาการบริหารงานในด้านการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้กับผู้รับจ้างล่าช้าและไม่ครบถ้วนนั้น นายจเร พันธุ์เปรื่อง ได้มีการติดตามเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ตามที่บุคคลในฐานะเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ กรณีจึงมิอาจถือได้ว่าการส่งมอบพื้นที่ล่าช้า เกิดจากความบกพร่องและความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในการบริหารจัดการของ นายจเร พันธุ์เปรื่อง จนทำให้ราชการเสียหายอย่างร้ายแรงแต่อย่างใด รวมทั้งกรณีความล่าช้าในการพิจารณาข้อเสนอของผู้รับจ้างในการขอขยายเวลาก่อสร้างนั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร โดยคณะกรรมการตรวจการจ้างก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ พร้อมอาคารประกอบ ได้พิจารณาขยายเวลาการก่อสร้างโดยใช้ระยะเวลาพิจารณาเป็นเวลา 10 เดือน เป็นการดำเนินการของทางราชการ ภายใต้กฎหมาย กฎ หรือระเบียบ บังคับไว้ต้องให้ดำเนินการอย่างรอบคอบและรักษาผลประโยชน์ของราชการเป็นสำคัญ และการดำเนินการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ก็ได้มีการพิจารณาอย่างต่อเนื่องและมีความเหมาะสมแล้ว

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts