“คำกล่าวอ้างของสหรัฐฯ ที่ว่าจีนมีกำลังการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามากเกินไปนั้น ‘ค่อนข้างไร้สาระ’ และเป็นความพยายามที่จะสกัดกั้นการเติบโตด้วยวิธีอื่นที่ไม่ใช่วิธีทางการตลาด” วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ตอบคำถามนักข่าวจากสำนักข่าวซินหัว เมื่อถูกถามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ในการประชุมเศรษฐกิจนานาชาติเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (SPIEF) ครั้งที่ 27
ผู้นำรัสเซีย เสริมอีกว่า “ว่าพวกเขาไม่ทราบหรือว่าใครเป็นคนกำหนดว่าจะมีการผลิตมากเกินไปหรือไม่? ถ้าจีนผลิตยานยนต์จำนวนหนึ่ง และมีตลาดรองรับรถเหล่านั้นทั้งหมด แล้วอะไรคือกำลังการผลิตที่มากเกินไป ที่เรากำลังพูดถึงกันอยู่”
ปูตินระบุว่า แนวทางของสหรัฐฯ ในการสกัดกั้นการเติบโตนั้น เป็นอันตรายและอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯเอง เนื่องจากผู้บริโภคต้องแบกรับต้นทุนสูงขึ้น ในการมองหาทางเลือกอื่น และส่งผลให้เงินเฟ้อในประเทศสูงขึ้นตามไปด้วย สิ่งนี้คือความผิดพลาดอีกประการหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐฯ ชุดปัจจุบัน
เช่นเดียวกับ เดวิด ฟิคคลิง นักเขียนประจำคอลัมน์ความคิดเห็นของบลูมเบิร์ก ชี้ว่าสหรัฐฯ ควรโอบรับผลิตภัณฑ์พลังงานสะอาด ราคาย่อมเยาเข้าถึงได้จากจีน โดยเฉพาะแผงโซลาร์เซลล์ มากกว่าเพิ่มอัตราภาษีศุลกากร
“นโยบายทางอุตสาหกรรมของจีน ทำให้ราคาแผงโซลาร์เซลล์ลดลงจากราว 90 เซนต์ (ราว 0.3 บาท) ต่อวัตต์ ในช่วงต้นปี 2012 เหลือเพียง 10 เซนต์ (ราว 0.029 บาท) ต่อวัตต์ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ ควรยินดี” ฟิคคลิง กล่าว
เขายังกล่าวอีกว่า การลดต้นทุนของพลังงานสีเขียว เป็นสิ่งเดียวที่ดีที่สุดที่โลกสามารถทำได้ หากต้องการหลีกหนีจากหายนะโลกร้อนในช่วงชีวิตนี้ โดยเทคโนโลยีพลังงานสะอาดของจีน แค่มีราคาถูก แต่ไม่ได้ถูกแบบปลอมๆ อย่างที่กล่าวหากันในสหรัฐฯ
ฟิคคลิงชี้ว่า หากต้องการทำให้คำสัญญาของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่จะมีโครงข่ายไฟฟ้าปลอดคาร์บอน ภายในปี 2035 เป็นรูปธรรม สหรัฐฯต้องเพิ่มอัตราเชื่อมต่อแหล่งผลิตพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ เกือบ 13 เท่าจากปัจจุบัน
ส่วนการสร้างฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม รวมถึงโรงงานชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ยังคงไม่เพียงพอทั่วโลก โดยผลการศึกษาล่าสุดจากทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า โลกไม่สามารถเพิ่มพลังงานหมุนเวียนสามเท่า ตามที่คณะผู้นำกลุ่ม G20 สัญญาไว้ในเดือนกันยายนปี 2023
โลกสะอาดจะเดินต่ออย่างไร หากปราศจากการพึ่งพาจีน!!