กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ) ภายใต้การอำนวยการ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.โสภณ สารพัฒน์ รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ., พ.ต.อ.อภิชน เจริญผล, พ.ต.อ.วิจักขณ์ ตารมย์, พ.ต.อ.จักรกริช เสริบุตร รอง ผบก.ปอศ., ว่าที่ พ.ต.อ.ธีรภาส ยั่งยืน ผกก.3 บก.ปอศ., พ.ต.ท.นนทพัทธ์ ยอดแก้ว, พ.ต.ท.ภาสกร นภาโชติ, พ.ต.ท.ณธัชพงศ์ สินสิริยานนท์ และ พ.ต.ท.ชวลิต น้ำใจสัตย์ รอง ผกก.3 บก.ปอศ. เจ้าหน้าที่ชุดตรวจค้นนำโดย ว่าที่ พ.ต.ท.หญิง ปวีณวรรณ พลหาญ, ว่าที่ พ.ต.ต.รัฐชิน เจริญรัมย์, พ.ต.ต.ประภาส วังงาม, ว่าที่ พ.ต.ท.วรพจน์ ลลิตจิรกุล และว่าที่ พ.ต.ต.หญิงจันทร์เพ็ญ โตสาคร สว.กก.3 บก.ปอศ. พร้อมกำลังข้าราชการตำรวจ กก.3 บก.ปอศ.
ร่วมกันตรวจค้นจำนวน 4 จุด ดังนี้
- บริษัทแห่งหนึ่ง บ้านแห่งหนึ่ง แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
- บ้านแห่งหนึ่ง ซอยวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ ถนนประชาราษฎร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
- บ้านแห่งหนึ่ง หมู่ 6 ตำบลบางพระ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
- บ้านแห่งหนึ่ง แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
พฤติการณ์ เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.ปอศ. ได้ดำเนินการตรวจค้นบ้านพักอาศัย 4 จุด ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดฉะเชิงเทรา หลังได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับขบวนการหลอกลวงให้ประชาชน เปิดบัญชีธนาคาร และนำบัญชีธนาคารไปใช้ในการกระทำความผิด เช่น การหลอกลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล และการแลกเปลี่ยนเงินเป็นสกุลเงินดิจิทัลเพื่อหลีกเลี่ยงการติดตาม จากการสืบสวนขยายผลพบว่าขบวนการ หลอกลงทุนได้แบ่งหน้าที่กันทำเป็นขั้นตอน ได้แก่ การจัดหาบัญชีธนาคารเพื่อใช้ในการกระทำความผิด การใช้บัญชีธนาคารหลอกลวงประชาชน ตลอดจนการใช้บัญชีธนาคารแลกเปลี่ยนเงินเป็นสกุลเงินดิจิทัลจากกลุ่ม คนค้าคริปโทเคอร์เรนซี เพื่อให้ยากต่อการสืบสวนและติดตามโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ การตรวจค้นในครั้งนี้เป็นการสืบสวนเพื่อหาพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับบัญชีธนาคารที่ใช้ในขบวนการหลอกลวงดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจค้นบ้านพักอาศัยทั้ง 4 จุด ซึ่งพบผู้ที่เกี่ยวข้องและมีส่วนในการเปิดบัญชีธนาคาร ดังนี้
- ที่บ้านแห่งหนึ่ง แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร พบ นายวีรยุทธฯ ให้การยอมรับว่าได้เปิดบัญชีธนาคารจริง ตามคำชักชวนของ น.ส.วิจิตราฯ หรือ “เปิ้ล” มิจฉาชีพที่หลอกให้ไปทำงาน ที่ปอยเปต โดยเสนอรายได้สูงถึง 20,000 บาทต่อสัปดาห์ โดยให้เปิดบัญชีธนาคารและส่งข้อมูลบัญชีพร้อมรูปถ่ายให้กับมิจฉาชีพ นายวีรยุทธฯ ได้เปิดบัญชีตามคำแนะนำโดยไม่ทราบว่าบัญชีดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการ
ทำธุรกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจทำให้เขาต้องรับโทษทางกฎหมายร่วมกับกลุ่มมิจฉาชีพ - ที่บ้านแห่งหนึ่ง ซอยวัดประดู่ธรรมาธิปัตย์ ถนนประชาราษฎร์สาย 1 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร พบนางสาววริยาฯ ให้การยอมรับว่าได้เปิดบัญชีธนาคารจริง แต่ให้การว่าถูกหลอกให้เปิดบัญชีธนาคารจากการสมัครงานออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก โดยอ้างว่าจะใช้บัญชีดังกล่าวในการรับเงินเดือน หลังจากเปิดบัญชีและส่งข้อมูลให้กับมิจฉาชีพ นางสาววริยาฯ ก็ถูกบล็อกจากเฟซบุ๊กดังกล่าวและไม่สามารถติดต่อได้อีก ทำให้ ไม่ทราบว่าบัญชีของจะถูกนำไปใช้ในการกระทำความผิดใด ทั้งนี้ จากการตรวจค้น ผู้ที่ถูกพบในที่เกิดเหตุยอมรับว่าได้เปิดบัญชีธนาคารจริง แต่มีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกัน เช่น บางคนถูกหลอกให้ไปทำงานต่างประเทศ โดยอ้างว่าต้องใช้บัญชีธนาคารในการรับเงินเดือน บางคน ถูกหลอกให้สมัครงานออนไลน์และส่งบัญชีธนาคารไปใช้ในการรับเงินเดือน ซึ่งคำกล่าวอ้างทั้งหมดนี้ยังอยู่ระหว่างการสืบสวนเพิ่มเติม
จากการตรวจสอบข้อมูลของ น.ส.วิจิตราฯ หรือ “เปิ้ล” พบเป็นมิจฉาชีพที่มีหมายจับหลายคดีในข้อหาหลอกลวงและฉ้อโกงผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จำนวนหลายหมายจับ และอยู่
1.หมายจับที่ 588/2566 ลงวันที่ 2 พ.ย.66 ข้อหา : นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และฉ้อโกงประชาชน ออกโดยศาลจังหวัดนครปฐม
2.หมายจับที่ 14/2567 ลงวันที่ ลงวันที่ 10 ม.ค.67 ข้อหา : ฉ้อโกงและนำข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ออกโดยศาลแขวงพระนครเหนือ
3.หมายจับที่ 20/2567 ลงวันที่ 29 ม.ค.67 ข้อหา : ฉ้อโกง ออกโดยศาลแขวงพัทยา
4.หมายจับที่ 108/2567 ลงวันที่ 27 มี.ค.67 ข้อหา : ฉ้อโกง ออกโดยศาลแขวงพระนครใต้
5.หมายจับที่ 495/2567 ลงวันที่ 28 มิ.ย.67 ข้อหา : ฉ้อโกง ออกโดยศาลจังหวัดธัญบุรี
6.หมายจับที่ จ.40/2567 ลงวันที่ 4 ก.ค.67 ข้อหา : ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและนำข้อมูลอันเป็นเท็จ
เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ออกโดยศาลจังหวัดชุมพร ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ระหว่างการไล่ล่า ติดตามตัว น.ส.วิจิตราฯ มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือนภัย ขอเน้นย้ำให้ประชาชนระมัดระวังต่อกลโกงในลักษณะดังกล่าว มิจฉาชีพมักใช้วิธีการหลอกลวงหลายรูปแบบ เช่น แอบอ้างรับสมัครงาน หรือชักชวนให้เปิดบัญชีธนาคาร เพื่อนำไปใช้ในขบวนการที่ผิดกฎหมาย แม้ผู้ที่เปิดบัญชีจะอ้างว่าไม่ทราบหรือถูกหลอก แต่หากบัญชีถูกนำไปใช้ ในการกระทำความผิด ผู้ที่เปิดบัญชีอาจต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ดังนั้น หากรู้ตัวว่าตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง ควรรีบแจ้งสถานีตำรวจใกล้เคียงเพื่อปรึกษาและให้ข้อมูลข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ว่าที่ พ.ต.ต.รัฐชิน เจริญรัมย์ สว.กก.3 บก.ปอศ. โทร. 089-6161771