วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
หน้าแรกสืบเศรษฐกิจอ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ! เสียงสะท้อนนักวิเคราะห์ ดีลควบรวม ทรู-ดีแทค

Related Posts

อ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ! เสียงสะท้อนนักวิเคราะห์ ดีลควบรวม ทรู-ดีแทค

“…เหลือบไปเห็นนักวิเคราะห์หลักทรัพย์บางสำนักออกมาให้ข้อมูลแก่นักลงทุน ถึงดีลควบรวมกิจการ”ทรูและดีแทค” ที่กำลังเป็นประเด็นสุดฮอตของสังคม และ”เผือกร้อน”ของ “คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)” อยู่ในเวลานี้…”

[inline_related_posts title=”คุณอาจสนใจเรื่องเหล่านี้” title_align=”left” style=”list” number=”4″ align=”none” ids=”” by=”categories” orderby=”rand” order=”DESC” hide_thumb=”no” thumb_right=”no” views=”no” date=”yes” grid_columns=”2″ post_type=”” tax=””]

โดย ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่และที่ปรึกษาการลงทุน ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)ที่ออกโรงหนุนดีลควบรวมกิจการเต็มสตรีมด้วยเชื่อว่าจะทำให้ภาพรวมการบริการมีคุณภาพมากขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการรายเล็กมีศักยภาพแข็งแกร่งมากพอที่จะแข่งขันกับรายใหญ่ได้อย่างทัดเทียม โดยไม่เกิดช่องว่างจากส่วนแบ่งการตลาดที่ห่างกันมากเหมือนปัจจุบัน ผู้บริโภคเองก็น่าจะได้ประโยชน์ เพราะกิจการที่ควบรวมจะมีต้นทุนลดลง เนื่องจากลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนลงได้ หากมีการนำเงินจากต้นทุนที่ลดลงได้ไปลงทุนพัฒนา Product หรือ Service ใหม่ ๆ ให้หลากหลาย แต่ต้องระวังในเรื่องการเลิกจ้างพนักงานที่ซ้ำซ้อน ซึ่งหาก “ทรูและดีแทค” ประกาศนโยบายดูแลพนักงานให้ชัด ก็น่าจะคลายกังวลไปได้

มีการหยิบยกกรณีการควบรวม บมจ.ทีโอทีกับบมจ.กสท.โทรคมนาคมหรือ CAT ซึ่งหลังการควบรวมได้กลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาด เป็นเจ้าของเกตเวย์ระหว่างประเทศ และตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์ประจำที่ถึง 80% แต่ไม่ได้ทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการเดือดร้อนแสดงให้เห็นว่าหน่วยงานกำกับดูแลอย่างกสทช.นั้น สามารถจะกำกับดูแลได้เป็นอย่างดีว่างั้นเหอะ!

เข้าใจว่าคงต้องการนำเสนอมุมมองให้เวทีโฟกัสของเหล่านักวิชาการที่กำหนดจัดในวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้คิดสักนิด โดยพยายามนำเสนอมุมมองที่ว่า การควบรวมกิจการของผู้ให้บริการโทรคมนาคมอย่าง “ทรูและดีแทค”นั้น เป็นเรื่องปกติของธุรกิจ เป็นการปรับตัวของผู้ประกอบการโทรคมนาคมบ้านเราที่ต้องตามเทรนด์ตามกระแส และผลของการควบรวมฯยังจะช่วยลดช่องว่างส่วนแบ่งตลาด ทำให้ผู้ให้บริการที่ตกเป็นรองมาตลอดมีโอกาสได้ลืมตาอ้าปากต่อกรกับเจ้าตลาดได้เสียที ผู้ใช้บริการเองก็มีโอกาสจะได้รับบริการใหม่ๆ

# ชี้ดาบ 2คม ไฟเขียวควบรวม
อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้สะท้อนมุมมองตรงข้ามว่า การควบรวมกิจการทรูและดีแทค มีทั้งผลดีและผลเสีย โดยผลดีด้านการจัดการนั้น จะช่วยให้ผู้ประกอบสามารถประหยัดต้นทุน ประหยัดบุคลากร และประหยัดเวลา สามารถพัฒนาสินค้า การบริการได้ง่ายมีมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่ รัฐบาล จากเดิมที่ต้องกำกับดูแลหลายบริษัท การควบรวมกิจการให้มีผู้ประกอบการน้อยราย ทำให้ง่ายต่อการกำกับดูแล

แต่ผลพวงจากการควบรวมกิจการ จะทำให้ผู้ประกอบการมีอำนาจเหนือผู้บริโภค รวมหัวกันได้ง่าย กำหนดราคาขายก็ง่าย ไม่ตัดราคากันเอง ผลกำไรก็ดีตามไปด้วย ขณะเดียวกัน การควบรวมกิจการ เป็นการทำลายการแข่งขันแบบเบ็ดเสร็จ เสี่ยงเกิด Cartels หรือการที่กลุ่มบริษัทตกลงราคาขายร่วมกัน เพื่อไม่ให้มีการแข่งขันกัน หรือการฮั้ว ซึ่งในบ้านเราพบมากในหลายธุรกิจ เช่น ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจปูนซีเมนต์ และธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น

ขณะที่ ผลเสียตกอยู่ที่ผู้บริโภค เพราะจะทำให้เกิดการผูกขาด หรือมีอำนาจเหนือตลาด เป็นการจำกัดทางเลือก ในอนาคตผู้บริโภคเสี่ยงที่จะถูกเอาเปรียบ เพราะรัฐบาลไม่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่แท้จริง เห็นได้ชัดจากการอนุมัติการควบรวมกิจการของอุตสาหกรรมค้าปลีก หรืออุตสาหกรรมอื่นที่รัฐบาลมีนโยบายที่คล้อยตามอำนาจทุน มากกว่าคล้อยตามอำนาจของประชาชน “หากรัฐบาลยึดประโยชน์ประชาชน ไม่ควรส่งเสริมให้เกิดการควบรวมกิจการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนอุตสาหกรรมค้าปลีกที่ผ่านมา”

#อาปากก็เห็นลิ้นไก่
สิ่งที่นักวิเคราะห์สะท้อนออกมาข้างต้นนั้น ดูเหมือนจะมุ่งไปแต่ในเรื่องโอกาสในการลงทุน หวังเพียงให้หุ้นหรือหลักทรัพย์ได้อานิสงจากการควบรวมเท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงภาพกว้าง ว่าแล้วผลกระทบที่มีต่อประชาชนผู้ใช้บริการ และอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศในระยะยาวจะเป็นอย่างไร การที่ผู้เล่นในตลาด หรือผู้ให้บริการโทรคมนาคมในตลาดที่เดิมก็มีการผูกขาดอยู่แค่ 3 ราย และอำนาจเหนือตลาดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ต้องลดลงไปเหลือแค่ 2 ราย ไม่เลือกค่าย A ก็ต้องเลือกค่าย B เท่านั้น ประชาชนผู้ใช้บริการจะอยู่ตรงไหนหรือ? มันมีช่องทางไหนที่จะทำให้เกิดผู้ให้บริการโทรคมนาคมใหม่ ๆ เบียดแทรกขึ้นมาได้ และหากการควบรวมธุรกิจในลักษณะนี้ มันดีเลิศขนาดยนั้นจริงๆ หน่วยงานกำกับดูแลของประเทศต่างๆทั่วโลกก็คงจะเห็นดีเห็นงามไปกับดีลควบรวมกิจการในลักษณะนี้กันไปหมดแล้ว คงไม่ออกข้อกำหนด ออกมาตรการห้ามสุดเข้มงวด

บางประเทศถึงขั้นสั่งห้ามไม่อนุมัติ หรือหากจะอนุมัติก็ต้องออกมาตรการบังคับขายกิจการบางส่วนหรือบังคับคืนคลื่นความถี่ คืนใบอนุญาตบางส่วนออกมาเพื่อให้รายใหม่ได้เบียดแทรกเกิดขึ้นมาได้

#ธรรมชาติเสือต้องกินเนื้อ
ก็ไม่รู้นักวิเคราะห์และนักลงทุนท่านเคยได้ยินภาษิตโบร่ำโบราณที่ว่า “ธรรมชาติของเสือมันต้องกินเนื้อ ธรรมชาติของวัวควายยังไงมันก็ต้องกินหญ้า ไปล่ามโซ่ ล้อมคอกให้ตายยังไง หากมีโอกาสยังไงมันก็ต้องเผยทาสแท้ออกมา น่าแปลกใจที่นักวิเคราะห์หลายท่าน ไม่พิจารณาไปถึงเรื่องของความยั่งยืนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศในอนาคตเลย และละเลยไม่พิจารณาปัจจัยด้านการผูกขาดที่จะเกิดขึ้น หากอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศเหลือผู้เล่นหลักเพียง 2 รายแล้วมันจะเป็นอย่างไร และการที่หน่วยงานกำกับดูแลปล่อยให้เกิดการผูกขาด เปิดช่องให้บริษัทสื่อสารโทรคมนาคมง้างอำนาจหน้าที่ของตนเองได้ จนมีอำนาจเหนือตลาด ผูกขาดธุรกิจได้ง่ายดายเช่นนี้แล้ว จะไปเพรียกหาการลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างไร

“ก็เหมือนกรณีที่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้า(กขค.)เคยไฟเขียวการควบรวมธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งให้กลุ่มทุนยักษ์กินรวบประเทศไทยไปก่อนหน้านั่นแหล่ะ ที่ไปออกมาตรการก่อนการควบรวมห้ามนั่น โน้น นี่ 3 ปี 5 ปีนั้น พวกท่านช่วยไปหาข้อดีต่อประชาชนผู้บริโภคมาสักข้อทีเถอะว่าเขาได้ทำตามไหม”

เอาแค่ในปัจจุบันที่ทุกฝ่ายต่างก็เห็นกันอยู่โทนโท่ว่า ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในตลาดเมืองไทยนั้น อยู่ในลักษณะ “กึ่งผูกขาด” และถือว่ามีอำนาจเหนือตลาดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานกำกับดูแลอย่าง กสทช.นั้น จำเป็นต้องออกมาตรการป้องกันการผูกขาด ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ และต้องหาช่องทางส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ๆ เบียดแทรกเข้ามาในตลาดเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคนั้น จนวันนี้ก็ยังไม่เห็นจะมีอะไรเป็นรูปธรรมสักกระผีก!

# หนังคนละม้วน ควบรวม TOT-CAT
ส่วนที่ไปหยิบยกกรณีการควบรวม บมจ.ทีโอที กับบมจ.กสท.โทรคมนาคม หรือ CAT เป็นบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ(NT) ซึ่งหลังการควบรวมก็กลายเป็นผู้ประกอบธุรกิจที่มีอำนาจเหนือตลาด อาทิครองตลาดเกตเวย์ระหว่างประเทศ และ ตลาดค้าปลีกบริการโทรศัพท์ประจำที่ถึง 80% แต่ก็ไม่ได้ทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการเดือดร้อนอะไรนั้น

พวกท่านคงคงลืมไปแล้วว่า 2 บริษัทสื่อสารของรัฐต่างมีกระทรวงการคลังหรือรัฐเป็นผู้ถือกหุ้นมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว และเหตุที่ต้องควบรวมกิจการนั้นก็เพื่อลดการลงทุนซ้ำซ้อนของรัฐเอง และลดการแข่งขันกันเองของสองรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสารของรัฐ และถึงแม้จะควบรวมกิจการกันไปเป็น NT แล้ว

ขอโทษเถอะ! บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ(หน้า)ของรัฐ ยังมีส่วนแบ่งในตลาดไม่ถึง 5%เสียด้วยซ้ำ แล้วจะไปเขย่าตลาดอะไรได้ ไอ้ที่ไปหยิบยกซะเว่อร์วังว่า ถือครองตลาดโทรศัพท์บ้านตั้ง 80% ถือครองเกตเวย์ะหว่างประเทศตั้ง 65% นั้นต่อให้ถือทั้ง 100% ก็ยังไม่มีผลต่อตลาดใดๆเลย เพราะเป็นโครงข่ายสื่อสารที่แทบจะเรียกได้ว่า “เอาท์โลก” ไปแล้ว

ถามจริงพวกท่านยังเห็นหรือว่า“ยังมีใครใช้โทรศัพท์(สับ)บ้านๆ หมุนกันมือหงิกอยู่ในยุคนี้???

 

 

 

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts