“….สะท้อนให้เห็นว่ากฎเหล็กมัดแครี่ของ กสทช.นั้นก็เป็นแค่ “เสือกระดาษ” ที่ไม่สามารถมาบังคับใช้ได้จริง จะปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนไม่ให้ถูกริดดอนแต่อย่างใด กลายเป็นว่า กกท. ขายสิทธิ์ถ่ายทอดบอิลโลกครั้งนี้ไปให้ทรูวิชั่นส์ไปทำมาหากินด้วยเม็ดเงินแค่ 300 ล้าน แถม กสทช. ยังไม่กำกับดูแลกฎเกณฑ์ Must Carry ของตนเอง ปล่อยให้บริษัทเอกชนได้ผลประโยชน์ไปโดยไม่สามารถทำอะไรได้ แถมตัวเองต้องเสียค่าโง่ถลุงงบไปกว่า 600 ล้าน แต่กลับไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร กลับปล่อยให้นายทุนมาละเมิดกฎที่ตนเองตั้งขึ้นมาเสียอีก…”
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 คู่อิหร่าน-อังกฤษ ที่ถ่ายทอดสดผ่านทรู4ยู และทรูวิชั่นส์ เมื่อค่ำวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา ในส่วนของผู้รับชมทีวีผ่านระบบ IPTV ระบบอินเทอร์เน็ต และ OTT ต่างไม่สามารถรับชมรายการถ่ายทอดสดได้ มีการขึ้นจอความไม่สามารถรับชมรายการได้เพราะข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์
ซึ่งจากการสอบถามไปยัง AIS Play ทราบว่าถูกยื่นโนติ๊สจากทรูวิชั่นส์ และ กกท.ว่าได้ให้สิทธิ์การถ่ายทอดสดแก่ทรูวิชั่นส์ไปแล้ว โดยสามารถรับชมการถ่ายทอดผ่านทีวีระบบภาคพื้นและผ่านกล่องเคเบิลทีวีเท่านั้น ส่วนการรับชอบมรายการทางช่องทางอื่นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้
“ทาง AIS Play ไม่สามารถทำอะไรได้เพราะ กกท.สั่งให้ปิดโดยอ้างว่าให้สิทธิถ่ายทอดแก่ทรูวิชั่นส์ไปแล้ว และมีข้อจำกัดในการถ่ายทอด ขณะที่ในส่วน กสทช.ที่ให้เงินสนับสนุนไปตั้ง 600 ล้านและเป็นผู้ออกประกาศหลักเกณฑ์มาร์ชแคลอรี่ดังกล่าวเองก็ไม่ทำอะไรเลย ไม่ออกมาปกป้องผลประโยชน์ประชาชนตาม ตามกฏเหล็ก Must Carry ที่ตนเองออกมา แม้เราจะสอบถามไปยังฝ่ายบริหารของสำนักงาน กสทช. ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนว่าจะเอาอย่างไรจึงจำเป็นต้องปล่อยให้จอดำ
“สะท้อนให้เห็นว่ากฎเหล็กมัดแครี่ของ กสทช.นั้นก็เป็นแค่ “เสือกระดาษ” ที่ไม่สามารถมาบังคับใช้ได้จริง จะปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนไม่ให้ถูกริดดอนแต่อย่างใด กลายเป็นว่า กกท. ขายสิทธิ์ถ่ายทอดบอลโลกครั้งนี้ไปให้ทรูวิชั่นส์ไปทำมาหากินด้วยเม็ดเงินแค่ 300 ล้าน แถม กสทช. ยัง ไม่กำกับดูแลกฎเกณฑ์ Must Carry ของตนเองปล่อยให้บริษัทเอกชนได้ประโยชน์ของประชาชนไปโดยไม่สามารถทำอะไรได้ แถมตัวเองต้องเสียค่าโง่ถลุงงบไปกว่า 600 ล้าน แต่กลับไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร กลับปล่อยให้นายทุนมาละเมิดกฎที่ตนเองตั้งขึ้นมาเสียอีก แล้วอย่างนี้หรือที่จะไปออกกฎเหล็กคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนกรณีอนุมัติดิวควบรวมกิจการทรู และดีแทค ไปก่อนหน้านี้ เพราะขนาดกฎเหล็กมัสต์แครี่ที่ใช้บังคับมาเป็น10 ปียังไม่สามารถกำกับดูแลและบังคับให้บริษัทผู้รับใบอนุญาตปฏิบัติตามได้”
สืบจากข่าว : รายงาน