วันเสาร์, เมษายน 27, 2024
หน้าแรกคอลัมนิสต์สืบจากข่าวการย้ายลูกเสือ 3 ตัว ไปศูนย์ฯบึงฉวาก

Related Posts

การย้ายลูกเสือ 3 ตัว ไปศูนย์ฯบึงฉวาก

สัตวแพทย์หญิง “หลั่งน้ำตา”
อำลาอาลัย “ลูกเสือน้อย 3 ตัว”
เลี้ยงดู ผูกพัน “กลั้นน้ำตาไม่ไหว”

“จำเป็นต้องลาจาก ทั้งๆ ที่ทุกคนให้ความรักความเอ็นดูอยากจะดูแลต่อไป แต่เนื่องจากสถานีเพาะเลี่ยงจุฬาภรณ์ เรามีปัญหาเรื่องงบประมาณ มีไม่เพียงพอ และเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพเสือน่าจะสู้ที่บึงฉวากไม่ได้ การไปอยู่ที่บึงฉวากเชื่อว่าจะมีข้อดีมากกว่าทุกๆด้าน” นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร กล่าว

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สบอ. 9 อุบลราชธานี กล่าวว่า ลูกเสือทั้ง 3 ตัว เป็นเพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 2 ตัว เพศผู้ชื่อ “ข้ามโขง “ เพศเมียชื่อ “มุกดา” และ ”สะหวัน”
ถูกยึดได้จากขบวนการค้าสัตว์ เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 65 โดยทราบว่า ผู้ต้องหา ได้มีการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน จึงได้ให้สายลับวางแผนล่อซื้อสัตว์ป่าจากผู้ต้องหา โดยผู้ต้องหาได้เสนอขายลูกเสือโคร่งซึ่งนำเข้ามาจากจากประเทศเพื่อนบ้าน ในราคาตัวละ 500,000 บาท จำนวน 4 ตัว รวมเป็นเงิน 2 ล้านบาท ซึ่งมีการติดต่อล่อซื้อหลายครั้ง แต่มีการเลื่อนการส่งลูกเสือโคร่งมาโดยตลอด จนในวันที่ 14 พ.ย 2565 เจ้าหน้าที่ได้ทำการล่อซื้อสัตว์ป่า (ลูกเสือโคร่ง) จากผู้ขายอีกครั้ง โดยต่อรองราคาเหลือ 1.5 ล้านบาท และมีการนัดหมายส่งลูกเสือโคร่งที่ปั๊มน้ำมัน ปตท.ลานทอง ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดมุกดาหาร โดยขณะที่นำลูกเสือมามอบให้กับสายลับ คณะเจ้าหน้าที่จึงได้แสดงตัวและเข้าจับกุมส่งพนักงานสอบสวน สภ.เมืองมุกดาหาร เพื่อดำเนินคดีและขยายผลต่อไป ส่วนลูกเสือโคร่งให้สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ จังหวัดศรีสะเกษดูแล

ลูกเสือโคร่งจึงเป็นของกลาง ตามคดีอาญาที่ 1684/2565 ยึดทรัพย์ที่ 250/2565 อยู่ภายใต้การกำกับการดูแลของ สอป.สบอ.9 (อุบลราชธานี) มาระยะหนึ่งแล้ว แต่เนื่องจากมีปัญหาในการดูแลที่ไม่พร้อม จึงประสานงานเพื่อส่งมอบให้ไปอยู่ในการดูแลของ กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า สอป. สบอ.3 (บ้านโป่ง) และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก

การที่ลูกเสือ ทั้งสามตัว ไปอยู่ที่ ศูนย์ฯบึงฉวาก นี้ มีข้อดีมากกว่า ทุกๆด้าน คือด้านเรื่องงบประมาณ ที่สถานีเพาะเลี่ยงจุฬาภรณ์ มีไม่เพียงพอ ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ
สัตวแพทย์ ที่ศูนย์ฯบึงฉวาก น่าจะดีกว่าแน่นอน

โดยมี นายธีระยุทธ วงศ์ไพเสริฐ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) แทนผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) เป็นผู้ส่งมอบ นางสาวธชพรรณ ลีลาพตะ นายสัตวแพทย์ และ นางสาวมาริษา ชุ่มวิจิตร นายสัตวแพทย์ กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นผู้รับมอบ

นายชัยวัฒน์กล่าวว่า ก่อนถึงเวลาส่งมอบ ต้องมีการเตรียมการเคลื่อนย้ายเพื่อไม่ให้ลูกเสือตื่นตกใจ โดยในช่วงเช้าวันที่ 17 ม.ค. 2566 เวลา 10.00 -11.00 น. ต้องมีการซักซ้อมก่อน โดยทีมสัตวแพทย์ สัตวบาล ประชุมวางแผน-ซักซ้อม การขนย้ายลูกเสือโคร่งของกลาง จำนวน 3 ตัว

  1. จัดทำเอกสารการขนย้าย
  2. ทดลองการขับรถยนต์ขนย้ายลูกเสือโคร่ง ขับโดยใช้ความเร็ว ไม่เกิน 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
  3. ถ้าเกิดเหตุกรณีฉุกเฉิน ให้ทำการจอดรถยนต์ และช่วยเหลือลูกสัตว์ทันที และนำส่งโรงพยาบาลสัตว์ในพื้นที่นั้นๆก็กรณีมีอาการสาหัส
  4. การขนย้าย จะทำการตรวจอาการลูกสัตว์ทุก 1 ชม. มีการรายงานอาการและสุขภาพสัตว์เป็นระยะๆ ถ้าลูกสัตว์ มีอาการเวียนหัว เมารถ น้ำลายยืด พิจารณาพักค้างคืน 1 คืน ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ หรือ อุทยานแห่งชาติน้ำตกสามหลั่น จ.สระบุรี ซึ่งประสานงานกับหัวหน้าหน่วยงานไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  5. ในการขนย้าย ทีมงานหลักคือ กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า โดยมีส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ.3 (บ้านโป่ง) และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก จ.สุพรรณบุรี เข้าร่วมขนย้าย

เวลาล่วงมาถึงบ่ายสัตวแพทย์สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) สัตวแพทย์สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 (บ้านโป่ง) สัตวแพทย์กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า และศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก ทำการตรวจประเมินสุขภาพเบื้องต้นอีกครั้ง พบว่ามีพฤติกรรมร่าเริง กินนมและเนื้อไก่สับได้ สีเยื่อเมือกเป็นสีชมพู ภาวะแห้งน้ำน้อยกว่า 5% (ปกติ) อุณหภูมิร่างกายปกติ การขับปัสสาวะปกติ อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนนิ่ม

การเคลื่อนย้ายลูกเสือโคร่งดังกล่าวข้างต้น ใช้รถยนต์ราชการหมายเลขทะเบียน ฮต 6406 กรุงเทพมหานคร และหมายเลขทะเบียน กจ 2619 ราชบุรี เคลื่อนย้ายไปยังศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีนางสาวธชพรรณ ลีลาพตะ และนางสาวมาริษา ชุ่มวิจิตร ตำแหน่งนายสัตวแพทย์ กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นผู้แทนเป็นผู้ควบคุมการขนย้าย พร้อมคณะทำงานผู้ดูแลสุขภาพลูกเสือโคร่งระหว่างการเคลื่อนย้าย
“จากผลการซ้อมการขนย้าย ทดลองนำลูกเสือขึ้นรถตู้ วิ่งในระยะทาง 20 กิโลเมตร ลูกเสือไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด” นายชัยวัฒน์ กล่าว

หลังจากได้กินนม/และอาหาร ช่วงเวลา 18:00 น แล้ว อาหารเริ่มย่อยและลูกเสือเริ่มจะมีอาการง่วงนอน เวลา 19:00 น จึงได้เวลาที่ต้องขนย้ายเสือโคร่ง ต้องลาจากกันแล้ว นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 มาร่วมกับ เจ้าหน้าที่ผู้เลี้ยงลูกเสืออุ้มลูกเสือ นำไปใส่กรง ท้ายรถตู้ พร้อมด้วย สัตวแพทย์หญิง คชรินทร์ ราชสินธุ์ ขณะที่นำลูกเสือขึ้นรถ วินาทีนั้นสัตวแพทย์หญิงคชรินทร์ ที่มีความผูกพันกับลูกเสือมาก ถึงกับหลั่งน้ำตากลั่นน้ำตาไว้ไม่ได้ หลั่งน้ำตาโดยไม่รู้ตัว ด้วยความผูกพันและคุ้นชินกับลูกเสือ สามตัว ที่กำลังจะจากไป

นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ. สบอ. 9 อุบลราชธานี กล่าวว่าขอขอบคุณ
นายธีระยุทธ วงศ์ไพเสริฐ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า สอป.
สพ.ญ.ธชพรรณ ลีลาพตะ นายสัตวแพทย์ สพ.ญ.มาริษา ชุ่มวิจิตร นายสัตวแพทย์
เจ้าหน้าที่ สอป.สบอ.9 (อุบลราชธานี) สพ.ญ.บงกชมาศ พิมพ์สิน
นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ สพ.ญ.คชรินทร์ ราชสินธุ์
นายสัตวแพทย์ชำนาญการ
สอป.สบอ.3 (บ้านโป่ง)
สพ.ญ.กนกวรรณ ตรุยานนท์
นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่าบึงฉวาก สพ.ญ.ณฐนน ปานเพ็ชร
นายสัตวแพทย์ชำนาญการ ที่เป็นความหวังของสัตว์ป่า
ต่อไป

#สืบจากข่าว รายงาน


เจ้าหน้าที่จึงเริ่มนำลูกเสือเข้ากรงที่อยู่ภายในรถตู้ ที่เตรียมไว้ ขณะที่ นำส่งลูกเสือโคร่งสามตัว
นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร
ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 มาร่วมกับ
ผู้เลี้ยงลูกเสืออุ้มลูกเสือ นำไปใส่กรง ท้ายรถตู้ นั้น
สัตวแพทย์หญิง คชรินทร์ ราชสินธุ์
กลั่นน้ำตาไว้ไม่ได้ ด้วยความผูกพันและคุ้นชินกับลูกเสือ สามตัว ต้องจากไป

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts