วันอาทิตย์, กันยายน 22, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีน‘ปักกิ่ง’ ห่วงสงครามยูเครนไร้ทางออก ย้อนถามสหรัฐฯ หนุน ‘สันติภาพ’ หรือ 'เลี้ยงไข้สงคราม’

Related Posts

‘ปักกิ่ง’ ห่วงสงครามยูเครนไร้ทางออก ย้อนถามสหรัฐฯ หนุน ‘สันติภาพ’ หรือ ‘เลี้ยงไข้สงคราม’

นักยุทธศาสตร์ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (PLA) เผยผู้นำปักกิ่งรู้สึก “ช็อก” กับสงครามที่เกิดขึ้นในยูเครน และจีนยังคงปรารถนาจะมีส่วนช่วยคลี่คลายความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ขณะเดียวกันก็ตั้งคำถามกับสหรัฐอเมริกาว่าต้องการ “สันติภาพ” จริงหรือไม่

พล.ท. เหอ เหลย (He Lei 何雷) ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนระหว่างการประชุมด้านความมั่นคง แชงกรี-ลา ไดอะล็อก ในสิงคโปร์ที่เพิ่งจะผ่านพ้นไปว่า จีน “ไม่คาดคิดมาก่อน” ว่าจะเกิดสงครามที่รัสเซียเป็นฝ่ายส่งทหารรุกรานยูเครนเมื่อเดือน ก.พ. ปี 2022

“จีนมีความกังวลและรู้สึกเสียดาย เพราะจนถึงบัดนี้ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะเกิดสันติภาพขึ้นได้เลย” เหอ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์

นายพลผู้นี้ย้ำจุดยืนของจีนที่เชื่อว่า “การเจรจา” คือวิธีเดียวที่จะจบสงครามลงได้ พร้อมตั้งคำถามฝากไปยังสหรัฐฯ ว่าต้องการสันติภาพหรือสงครามกันแน่ เพราะสิ่งที่อเมริกาทำอยู่ทุกวันนี้มีแต่จะยิ่งทำให้ความขัดแย้งยืดเยื้อออกไป

“ผมก็อยากจะถามว่า สหรัฐฯ ต้องการสันติภาพจริงๆ หรือเปล่า? พวกคุณปรารถนาที่จะเป็น ‘มือสีดำ’ (black hand) อยู่หลังฉาก หรือตั้งใจจะเป็นมิตรที่นำทุกฝ่ายไปสู่สันติภาพ”

คำพูดของนายพล เหอ สอดคล้องกับคำแถลงของ หลี่ ฮุย (Li Hui) ผู้แทนพิเศษฝ่ายกิจการยูเรเชียของจีน ซึ่งตระเวนเดินสายเยือนยูเครน ยุโรป และรัสเซียเป็นเวลา 12 วันเมื่อเดือนที่แล้ว โดย หลี่ เองก็ยอมรับว่าการจะดึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมวงเจรจานั้น “เป็นเรื่องยากพอสมควร”

@suebjarkkhao

‘ปักกิ่ง’ ห่วงสงครามยูเครนไร้ทางออก ย้อนถามสหรัฐฯ หนุน ‘สันติภาพ’ หรือ ‘เลี้ยงไข้สงคราม’

♬ เสียงต้นฉบับ – สืบจากข่าว – สืบจากข่าว

เหอ ซึ่งเป็นอดีตรองผู้บัญชาการสถาบันวิทยาการทหาร (Academy of Military Sciences – AMS) ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน และเคยนำคณะผู้แทนจีนเข้าร่วมประชุม แชงกรี-ลา ไดอะล็อก ในปี 2017 และ 2018 ยังปฏิเสธรายงานข่าวที่ว่า จีนพยายามเกลี้ยกล่อมให้ยูเครน “ยอมสละดินแดนบางส่วนให้กับมอสโก เพื่อแลกมาซึ่งสันติภาพ”

“จีนมีจุดยืนที่ชัดเจนเรื่อยมา เราเรียกร้องให้เคารพอธิปไตยและความมั่นคงในดินแดนของทุกฝ่าย ไม่มีประเทศไหนสามารถละเมิดความมั่นคงของประเทศอื่นเพื่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของตัวเอง”

นายพล เหอ ยังวิจารณ์องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ว่าพยายามใช้สงครามครั้งนี้เป็นเครื่องมือกดดันและโดดเดี่ยวรัสเซีย

“สหรัฐฯ ทำเหมือนยูเครนเป็นวัตถุที่ใช้เพื่อการสงคราม (cannon fodder) ต่อต้านรัสเซีย เพื่อที่พวกเขาจะขจัดคู่แข่งทางยุทธศาสตร์ไปได้อีกราย หากว่ามอสโกแพ้สงคราม”

เหอ ระบุ

โจว เฉินหมิง (Zhou Chenming) นักวิจัยจากสถาบันคลังสมอง Yuan Wang ในกรุงปักกิ่ง ระบุว่า จีนเองก็เซอร์ไพรส์ไม่น้อยที่เห็นยูเครนต่อสู้อย่างทรหดอดทนขนาดนี้ ทั้งๆ ที่สูญเสียไครเมียให้กับรัสเซียไปแล้วเมื่อ 8 ปีก่อน

“เอาจริงๆ จีนไม่ได้คาดคิดว่าชาวยูเครนจะกล้าหาญต่อสู้กับกองทัพมหาอำนาจอย่างรัสเซียได้นานขนาดนี้” โจว กล่าว พร้อมคาดการณ์ว่าสงครามครั้งนี้คงจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะอ่อนกำลังไปเอง

Eagle Yin Shuguang นักวิจัยจาก China Foundation for International and Strategic Studies ในกรุงปักกิ่งชี้ว่า “สาเหตุที่จีนกังวลก็เพราะเชื่อว่า เป้าหมายสูงสุดของฝ่ายตะวันตกที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำไม่ใช่แค่การบ่อนทำลายรัสเซีย หากแต่ต้องการปิดล้อมควบคุมจีนด้วย เพื่อที่สหรัฐฯ จะได้คงความเป็นเจ้าโลกต่อไป”

ที่มา: SCMP

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts