วันศุกร์, กันยายน 27, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนมองมุมใหม่แม่น้ำโขง อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

Related Posts

มองมุมใหม่แม่น้ำโขง อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

การประชุมอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ประจำปี 2023 ภายใต้หัวข้อ “ผลักดันการเปลี่ยนแปลงของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง” ถูกจัดขึ้นที่นครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยมีคณะผู้แทนจากจีน ไทย เมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมมากกว่า 200 คน

“แม่น้ำโขง” มหานทีที่ไหลผ่าน 6 ประเทศ ด้วยความยาวเกือบ 5,000 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดมาจากการละลายของน้ำแข็งและหิมะบริเวณที่ราบสูงทิเบตในบริเวณตอนเหนือของเขตปกครองตนเองทิเบต และบริเวณมณฑลชิงไห่ของประเทศจีน ไหลผ่านภูเขาและที่ราบสูงในประเทศจีน ผ่านมณฑลยูนนานเข้าสู่ประเทศเมียนมาร์ ประเทศลาว จากนั้นไหลเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ผ่านจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี เป็นระยะทาง 1,520 กิโลเมตร แล้วไหลเข้าสู่ประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ก่อนไหลลงสู่ทะเลจีนใต้ที่ประเทศเวียดนาม รวมความยาวทั้งสิ้น 4,880 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รับน้ำในลุ่มน้ำ 795,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 496.875 ล้านไร่

ปัจจุบัน สภาพแวดล้อมของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) มีการเปลี่ยนแปลงและมีพลวัตอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 6 ประเทศ จึงจำเป็นต้องกระชับความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของภูมิภาค ทั้งในด้านการใช้น้ำเพื่อการเกษตร การขนส่ง รวมถึงการสร้างพลังงานสะอาดเพื่อลดปัญหาโลกร้อน โดยผู้เข้าร่วมประชุมต่างแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความผันผวนซับซ้อน ที่ประชุมได้ย้ำถึงหลักการร่วมมือที่มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ มีความเสมอภาค การทาบทามระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การเคารพกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายสากล  สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายของแต่ละประเทศ เป็นความปรารถนาของทุกฝ่าย พร้อมแนะนำให้ประเทศสมาชิกประสานงานเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยง ผลักดันการค้าการลงทุน หนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพิ่มการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน

ในทุกเวทีการประชุมร่วมประเทศลุ่มน้ำโขง ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ เห็นพ้องว่าผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมได้ถูกส่งมอบแก่กลุ่มประเทศที่เข้าร่วมทั้ง 6 ประเทศแล้ว นับตั้งแต่มีการก่อตั้งกรอบความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง และกรอบความร่วมมือนี้ได้ส่งเสริมมิตรภาพระหว่างผู้คนใน 6 ประเทศอย่างมีประสิทธิภาพผ่านความร่วมมือด้านสื่อ เสริมสร้างมิตรภาพและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกัน และบอกเล่าเรื่องราวของประชาคมแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงให้ดียิ่งขึ้น

อนุภูมิภาคที่อยู่ร่วมกัน ล้วนเรียนรู้ เข้าใจ และมองเห็นความต้องการตรงหน้า โดยมีการเจรจาเพื่อวิเคราะห์จุดต่าง แสวงหาจุดร่วม โดยมิต้องฟังเสียงใครอื่นที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยความหวังดีประสงค์ร้าย หรือเพียงแค่หวังประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่ง

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts