วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนการค้าจีน-BRI 7เดือนโต 7.4% อาเซียนยังเป็นกลุ่มคู่ค้ารายใหญ่

Related Posts

การค้าจีน-BRI 7เดือนโต 7.4% อาเซียนยังเป็นกลุ่มคู่ค้ารายใหญ่

สำนักงานศุลกากรทั่วไปของจีน รายงานการค้าระหว่างวประเทศของจีน ช่วง 7 เดือน ขยายตัวร้อยละ 0.4 ขณะที่การค้าเส้นทาง BRI พุ่งทะลุ 8.06 ล้านล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4

เมื่อวันอังคาร (8 ส.ค.) สำนักงานศุลกากรทั่วไปของจีน รายงานว่ามูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของจีน ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม-กรกฎาคม) ขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่ 23.55 ล้านล้านหยวน (ราว 114.21 ล้านล้านบาท)

รายงานระบุว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่ 13.47 ล้านล้านหยวน (ราว 65.32 ล้านล้านบาท) ส่วนมูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 1.1 จากปีก่อน อยู่ที่ 10.08 ล้านล้านหยวน (ราว 48.88 ล้านล้านบาท)

ทั้งนี้ มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของจีน ช่วงเดือนกรกฎาคม ลดลงร้อยละ 8.3 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยการส่งออกลดลงร้อยละ 9.2 และการนำเข้าลดลงร้อยละ 6.9 ขณะที่มูลค่าการค้าของจีนกับสหภาพยุโรป (EU) ลดลงร้อยละ 0.1 จากปีก่อน ส่วนมูลค่าการค้าของจีนกับสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.6 เมื่อเทียบปีต่อปี

อย่างไรก็ตาม มูลค่าการค้าของจีนกับกลุ่มประเทศตามแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) อยู่ที่ 8.06 ล้านล้านหยวน (ราว 39.09 ล้านล้านบาท) ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบปีต่อปี สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน (ASEAN) ยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของจีนในช่วง 7 เดือนแรก โดยมูลค่าการค้าของจีนกับกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบปีต่อปี และคิดเป็นร้อยละ 15.3 ของการค้าระหว่างประเทศทั้งหมดของจีน

สำหรับกลุ่มประเทศตามแผนริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) หรือชื่อเดิม One Belt One Road” (OBOR) คือ“เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21” ที่ต้องการเรียกร้องให้โลกร่วมกันสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ ประกอบด้วยเส้นทางหลัก 2 เส้นคือ 1.Silk Road Economic Belt คือเส้นทางขนส่งทางบกที่จะเชื่อมจีนและยุโรปเข้าด้วยกัน ด้วยโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงของจีนเข้าไปยังส่วนลึกของเอเชียกลาง เชื่อมสู่ตะวันออกกลาง ผ่านตลาดสำคัญอย่าง คาซัคสถาน อิหร่าน ข้ามไปยังตุรกีทะลุยุโรปผ่านเมืองสำคัญ เช่น แฟรงเฟิร์ต เวนิซ อัมสเตอร์ดัม และ 2.Maritime Silk Road คือเส้นทางขนส่งทางทะเล เริ่มจากเมืองท่าสำคัญของจีนอย่างเซี่ยงไฮ้ เทียนจิน ฟุโจว ลงมาทะเลจีนใต้ เชื่อมกลุ่มประเทศอาเซียน ข้ามช่องแคบมะละกาเข้าสู่มหาสมุทรอินเดีย ทะลุตะวันออกกลางไปสู่แอฟริกาตะวันตก ผ่านอ่าวเปอร์เซีย-คลองสุเอซ-ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมีจุดหมายทางคือทวีปยุโรป

โดยจีนกล่าวว่าหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางไม่ใช่ยุทธศาสตร์และไม่ใช่นโยบาย เป็นเพียงข้อริเริ่มที่แต่ละประเทศจะมาตกลงหารือเพื่อผลประโยชน์ที่จะได้ร่วมกัน (win-win cooperation) ภายใต้หลักการ 3 ประการ ได้แก่ 1) ร่วมกันหารือ 2) สร้างสรรค์ และ 3) แบ่งปัน โดยทุกอย่างไม่มีข้อกำหนดตายตัว สามารถยืดหยุ่นได้ผ่านการเจรจา โดยภารกิจหลักของข้อริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางคือการให้ความช่วยเหลือและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานแก่ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ เช่น รถไฟความเร็วสูง ท่าเรือ การคมนาคม ฯลฯ ครอบคุมไปถึงเรื่องการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ การแลกเปลี่ยนบุคลากร การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และการต่อยอดความร่วมมือด้านอื่นๆ อีกมากมาย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts