วันศุกร์, กันยายน 27, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนไทยลุ้นผลสมัครสมาชิกกลุ่ม BRICS รักษาสมดุลขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ

Related Posts

ไทยลุ้นผลสมัครสมาชิกกลุ่ม BRICS รักษาสมดุลขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจ

การประชุม BRICS ประกอบด้วยบราซิล รัสเซีย อินเดีย จีนและแอฟริกาใต้ เมื่อ 22-24 ส.ค.2566 ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญ 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) จุดยืนของ BRICS ในเรื่องภูมิรัฐศาสตร์โลกที่ชี้ชัดว่าความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกจะยิ่งซับซ้อนมากขึ้น 2) การเดินหน้าผลักดันใช้สกุลเงินท้องถิ่นเพื่อลดการพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์ฯ 3) การรับสมาชิกใหม่สะท้อนความน่าสนใจของกลุ่มที่เป็นอีกทางเลือกของเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่มาจากภูมิรัฐศาสตร์ที่เข้มขึ้น โดยซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ อิหร่าน อียิปต์ เอธิโอเปียและอาร์เจนตินาจะเข้าเป็นสมาชิกใหม่อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ม.ค.2567

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การประชุมกลุ่มเศรษฐกิจแต่ละภูมิภาคในช่วงที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็น G7 การประชุมผู้นำอเมริกาใต้ จนมาถึงการประชุม BRICS ต่างชี้ให้เห็นถึงจุดยืนที่เริ่มแสวงหาทางเลือกอื่นเพื่อลดการพึ่งพาชาติตะวันตก โดยเฉพาะในด้านการลดการใช้สกุลเงินดอลลาร์ฯ ที่ล้วนถูกกล่าวถึงในทุกเวที สะท้อนการกระจายความเสี่ยงทางเศรษฐกิจออกมาจากขั้วเศรษฐกิจดั้งเดิมไปสู่ทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น

การพิจารณารับสมาชิกใหม่เป็นหนึ่งในวาระสำคัญของ BRICS โดยล่าสุดสมาชิกเดิม 5 ประเทศ ประกาศรับ 6 ประเทศ ที่ล้วนเป็นตัวแทนเศรษฐกิจที่สำคัญของภูมิภาคประกอบด้วย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ อิหร่าน อียิปต์ เอธิโอเปีย และอาร์เจนตินา เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2567 ทั้งนี้ยังมีหลายประเทศสนใจเข้าร่วมเป็นสมาชิกมีทั้งหมดจำนวน 40 ประเทศ โดยมี 23 ประเทศได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อาร์เจนติน่า เวเนซุเอลา แอลจีเรีย โบลิเวีย อียิปต์ เอธิโอเปีย คิวบา คาซัคสถาน บาห์เรน  เบลารุส ฮอนดูรัส คูเวต โมร็อกโก ไนจีเรีย ปาเลสไตน์  เซเนกัล บังกลาเทศ รวมถึงประเทศในอาเซียนอย่างไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น

ในเบื้องต้นไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม BRICS ตั้งแต่ต้นปี 2566 และอยู่ระหว่างรอการพิจารณา  ซึ่งหัวใจของการเข้าเป็นสมาชิกหลักๆ คือ การรักษาสมดุลของขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่และประเทศพัฒนาแล้วเป็นสำคัญ ข้อดีสำหรับไทย นับเป็นการเปิดโอกาสทางเศรษฐกิจในอีกแง่มุมหนึ่งเพื่อเข้าถึงกลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญในแต่ละทวีปของโลก โดยในปัจจุบันกลุ่มนี้ก็มีบทบาทต่อการค้าของไทยถึง 22.8% ของการค้ารวมไทย ใกล้เคียงกับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอย่าง G7 ที่มีสัดส่วน 26.2% ของการค้ารวมไทย อีกทั้งเป็นกลุ่มที่เปิดกว้างให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นสำหรับเป็นช่องทางลดพึ่งพาสกุลเงินดอลลาร์ฯ รวมถึงมีโอกาสเข้าถึงเม็ดเงินในการพัฒนาเศรษฐกิจในอีกฝั่งขั้วเศรษฐกิจของโลก ในขณะที่ข้อควรระวัง ทางการไทยคงต้องรักษาท่าทีในการรับข้อตกลงใหม่ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความอ่อนไหวต่อคู่ค้าในฝั่งชาติตะวันตก และนำมาซึ่งการมาตรการกีดกันทางการค้าเพิ่มเติมในระยะข้างหน้า

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts