วันเสาร์, กันยายน 28, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนอียู…กล้าจริงไหม? แบน “อีวี” จีน อาจได้ไม่คุ้มเสีย

Related Posts

อียู…กล้าจริงไหม? แบน “อีวี” จีน อาจได้ไม่คุ้มเสีย

หากยังจำกันได้ ในการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี20 เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา ได้มีการคุยนอกรอบระหว่าง หลี่เฉียง นายกรัฐมนตรีจีน กับ อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ในการยึดมั่นหลักการเศรษฐกิจแบบตลาดและความร่วมมืออันยุติธรรม ปราศจากการเลือกปฏิบัติแก่กลุ่มบริษัทจีนที่เข้าไปลงทุนและดำเนินงานในยุโรป

แต่เพียงชั่วข้ามคืน ก็มีรายงานข่าวออกมาว่า ยุโรปจะเพิ่มการจัดเก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าจากจีน  เป็นระดับเดียวกับที่สหรัฐจัดเก็บสำหรับรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าจากจีนคือ 27.5% โดยประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า ตลาดโลกเต็มไปด้วยรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกจากจีน และสาเหตุที่รถยนต์ไฟฟ้าจากจีนมีราคาถูกมากเกินจริง เนื่องจากได้เงินอุดหนุนจำนวนมหาศาลจากภาครัฐ

เรื่องนี้ทำให้ สมาคมรถยนต์โดยสารแห่งประเทศจีน (CPCA) ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การกระทำดังกล่าวว่า การส่งออกรถยนต์พลังงานใหม่ของจีนที่แข็งแกร่ง ไม่ใช่เป็นเพราะได้รับเงินอุดหนุนจำนวนมหาศาลจากรัฐ แต่เป็นเพราะห่วงโซ่อุปทานของจีนมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ขณะที่ข้อมูลของมูดี้ส์ ระบุว่า การส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าของจีนพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากการส่งออกรถยนต์ทุกประเภทนั้น จีนได้แซงหน้าเยอรมนีไปแล้ว และกำลังจะแซงหน้าญี่ปุ่นในปีนี้ ในฐานะผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก

ล่าสุด นายวาลดิส ดอมบรอฟสกิส ประธานบริหารและกรรมาธิการการค้าของคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) กล่าวในวันนี้ (26 ก.ย.) ว่า ยุโรปอยู่ในระหว่างสอบสวนเรื่องการจ่ายเงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้าจากรัฐบาลจีน แต่ไม่ควรตัดสินผลของการสอบสวนไปก่อนล่วงหน้า

ประธาน EC แถลงต่อสื่อมวลชน ณ กรุงปักกิ่ง ระหว่างเดินทางเยือนจีน 4 วัน ว่า การสอบสวนดังกล่าวจะมุ่งเป้าไปที่เงินอุดหนุนสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และจะอ้างอิงไปตามข้อเท็จจริง ตามกฎระเบียบของสหภาพยุโรป (EU) และองค์การการค้าโลก (WTO) โดยหน่วยงานและธุรกิจต่าง ๆ ของจีนจะมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งผลของการสอบสวนจะถูกกำหนดโดยหน่วยงานเหล่านั้น ไม่สามารถตัดสินผลการสอบสวนล่วงหน้าไปก่อนได้

อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญวงการรถยนต์ว่า ยุโรปอาจกำลังหวาดกลัวการแข่งขันจากจีน พวกเขาจึงต้องใช้มาตรการกีดกันทางการค้าเป็นเกราะป้องกันสำหรับผู้ผลิตรถยนต์ในยุโรปที่กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอย่างเชื่องช้า หากสหภาพยุโรปดำเนินการอย่างไม่ยุติธรรมเช่นนี้ จีนก็อาจจะมีเครื่องมือต่าง ๆ เป็นมาตรการตอบโต้ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ทางกฎหมายของบริษัทจีนเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจทำให้ยุโรปได้ไม่คุ้มเสีย

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts