วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนหนุนศก.ข้ามแดน 'แม่โขง-ล้านช้าง' แผน 5 ปี 9 ภารกิจขับเคลื่อนสู่ความรุ่งเรือง

Related Posts

หนุนศก.ข้ามแดน ‘แม่โขง-ล้านช้าง’ แผน 5 ปี 9 ภารกิจขับเคลื่อนสู่ความรุ่งเรือง

กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง (Mekong-Lancang Cooperation: MLC) จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2558 มีสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย ซึ่งตกลงร่วมส่งเสริมความร่วมมือ 6 สาขา ได้แก่ 1.สาขาความเชื่อมโยง 2.สาขาการพัฒนาศักยภาพการผลิต 3.สาขาความร่วมมือทรัพยากรน้ำ 4.สาขาการเกษตร 5.สาขาการลดความยากจน และ 6.สาขาความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดน โดยได้จัดทำแผนพัฒนาระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 – 2570) ในสาขาความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดนภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง ซึ่งการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของไทยเมื่อวันที่ 7 มี.ค.2566 ได้เห็นชอบเรียบร้อยแล้ว

สำหรับแผนพัฒนาสาขาความร่วมมือเศรษฐกิจข้ามพรมแดน ระยะ 5 ปี มีภารกิจสำคัญ 9 ด้าน คือ

1.การค้า การลงทุน และอุตสาหกรรม อาทิ 1.1 ส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ในกระบวนการผลิต 1.2 จัดตั้งตลาดแม่โขง – ล้านช้างสำหรับสินค้าเกษตร 1.3 จัดทำแผนความร่วมมือในการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน และ 1.4 การท่องเที่ยวอัจฉริยะและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

2.การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่ง ปรับปรุงระบบศุลกากรผ่านแดนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการขนส่ง  3.โลจิสติกส์ข้ามพรมแดน ส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐานและการสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ระหว่างภูมิภาค 4.พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในทางการค้าและส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมสำคัญบนพื้นฐานของความเข้มแข็งด้านดิจิทัล

5.เขตเศรษฐกิจ ส่งเสริมการค้าและการลงทุนระดับภูมิภาคโดยการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย และการขับเคลื่อนการค้าชายแดน 6.การจัดประชุมนิทรรศการ การสร้างแบรนด์แม่โขง – ล้านช้าง และส่งเสริมการพัฒนาเมืองแสดงสินค้านานาชาติ 7.การบ่มเพาะและการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สร้างสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมและการค้าที่เอื้อต่อการเติบโตสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างเวทีความร่วมมือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

8.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานภายในภูมิภาค และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย และ

9.การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยี แลกเปลี่ยนความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านการเกษตร ด้านการชลประทาน การใช้ทรัพยากรน้ำ และแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการและวิจัยประยุกต์

แนวทางดังกล่าว สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การพัฒนากรอบความร่วมมือในเขตเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง ที่ต้องการการพัฒนาอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมกระบวนการพัฒนาอาเซียน ซึ่งประเทศสมาชิกได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับการพัฒนากรอบความร่วมมือดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง  นับตั้งแต่ได้ประกาศจัดตั้งกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง อย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2558

ความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง จึงเป็นเวทีความร่วมมือระดับอนุภูมิภาครูปแบบใหม่ที่จีนกับ 5 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขงร่วมก่อตั้งขึ้น เพื่อมุ่งส่งเสริมความร่วมมือฉันมิตรระหว่าง 6 ประเทศ ผลักดันการพัฒนาทางเศรษฐกิจสังคมระดับภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาระหว่างกัน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของอาเซียนและภายในภูมิภาค สร้างคุณูปการในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ค.ศ.2030 ที่สหประชาชาติตั้งเป้าไว้

โดยทั้ง 6 ประเทศต่างร่วมแรงร่วมใจกันเพื่อสร้างสรรค์ประชาคมประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงซึ่งมีชะตาชีวิตร่วมกัน  และเพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมือ LMC ให้เป็น “แบรนด์เนม” ของประชาคมเอเชีย เป็นเวทีสำคัญของการสร้างสรรค์โครงการ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” เปิดกว้าง ไม่แบ่งแยก เรียนรู้จุดเด่นของกันและกัน สร้างการประสานและแลกเปลี่ยน ยกระดับความเป็นหนึ่งเดียวทางเศรษฐกิจในภูมิภาคให้เติบโตอย่างเท่าเทียมกัน

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts