“…การจัดงาน “มหกรรมรวมพลัง SMEs ไทย ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2567” วางแผนกำหนดมาตรการส่งเสริมและแก้ปัญหา SMEs ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่า SMEs ให้ได้ 3 แสนล้านบาท ภายใน 1 ปีแรก และภายในปี 2570 ตั้งเป้าให้ SME เติบโตขึ้น 40% ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับ ‘การสร้างอาชีพด้วยแฟรนไชส์’ เพราะเป็นกลไกสำคัญที่จะพา SMEs และผู้ว่างงานให้มีงานทำ เดินไปสู่ความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว กระทรวงฯ ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดร่วมมือกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ในแต่ละพื้นที่คัดเลือกทำเลการค้าที่ดีในท้องถิ่นของตนเองไม่น้อยกว่า 10-20 แห่ง รวม 4000 ทำเล สร้างพื้นที่ขายสินค้าให้ผู้จะสร้างอาชีพ คนรุ่นใหม่ นักศึกษาจบใหม่ นอกจากนี้ ได้ประสานงานกับกระทรวงพลังงานจัดหาทำเลการค้าที่ดีสำหรับธุรกิจ ปั๊มน้ำมัน ที่มีการสัญจรสูงของการเดินทางและเป็นแหล่งใช้จ่ายเงิน…”
“นภินทร” ดัน“พาณิชย์จังหวัด” หาทำเล 4000 แห่งสร้างงานสร้างอาชีพ วางยุทธศาสตร์ดัน SMEs ในประเทศ
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทย ณ ห้องกิติยากรวรลักษณ์ สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ว่า วันนี้ (13 ธันวาคม 2566) ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการฯ เชิญผู้แทนหน่วยงานภายในกระทรวงพาณิชย์และภาคเอกชนเข้าร่วมหารือเพื่อกำหนดแนวทางความร่วมมือด้านการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงเตรียมความพร้อมการจัดงาน “มหกรรมรวมพลัง SMEs ไทย” ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2567 และวางแผนกำหนดมาตรการส่งเสริมและแก้ปัญหา SMEs โดยมีรายละเอียดสำคัญ 2 เรื่อง ดังนี้
- การจัดกิจกรรม “มหกรรมรวมพลัง SMEs ไทย” ซึ่งเป็นภารกิจเร่งด่วน (Quick Win) ของกระทรวงพาณิชย์ในการสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการ SMEs ผลลัพธ์สำคัญจะช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชน เกิดการหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศ และช่วยขยายตลาดให้ผู้ประกอบการ SMEs เบื้องต้น กำหนดจัดกิจกรรมช่วงปลายเดือนมีนาคม 2567 ณ กรุงเทพมหานคร กิจกรรมหลักภายในงานประกอบด้วย-การเปิดพื้นที่ให้ SMEs เข้าร่วมแสดงและจำหน่ายสินค้า เช่น ธุรกิจแฟรนไชส์ ธุรกิจอาหาร ผลิตภัณฑ์ชุมชน เป็นต้น จำนวนไม่น้อยกว่า 100 คูหา
- การเจรจาจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) ระหว่างคู่ค้าทางธุรกิจ 1.3) การสัมมนาหัวข้อที่ SMEs จำเป็นต้องรู้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น กฎระเบียบด้านการค้าระหว่างประเทศ สิทธิประโยชน์ FTA และแนวทางการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
- การให้สินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อช่วยให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น ภายใต้กิจกรรม ‘จับคู่กู้เงิน’ และ การให้คำปรึกษาด้านการทำธุรกิจจากผู้เชี่ยวชาญและหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงพาณิชย์ โอกาสนี้ขอเชิญชวนให้ SMEs และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมฯ และระยะที่ 2 จะขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้ง 4 ภูมิภาคเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นและช่วยเหลือผู้ประกอบการชุมชนในการขยายตลาดและฐานลูกค้า
สำหรับ Road Map “มาตรการส่งเสริมและแก้ปัญหา SMEs” เพื่อเพิ่มสัดส่วน GDP SMEs ไทย ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่า SMEs ให้ได้ 3 แสนล้านบาท ภายใน 1 ปีแรก และภายในปี 2570 ตั้งเป้าให้ SME เติบโตขึ้น 40% โดยเดินตาม 8 แนวทาง บูรณาการระหว่าง 3 หน่วยงาน คือ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) และกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อจัดหลักสูตรอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมทักษะให้กับ SMEs
2. สร้างอาชีพด้วยแฟรนไชส์ โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ว่างงาน ผู้สนใจประกอบธุรกิจ และครอบครัวผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถเลือกซื้อแฟรนไชส์ตามความถนัด โดยแฟรนไชส์เป็นธุรกิจที่มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง เพราะเท่ากับซื้อความสำเร็จจากเจ้าของธุรกิจ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แฟรนไชส์ซีและแฟรนไชส์ซอร์ได้สร้างธุรกิจสร้างตัวไปพร้อมกัน
3. เพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศด้วยการนำสินค้าชุมชน หรือ SMEs หรือ OTOP มาเสนอขายแก่ผู้บริโภคในกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศไทยกว่า 2.5 ล้านคน โดยจัดแพ็คเกจสินค้าที่เหมาะกับการยังชีพให้สะดวกต่อการเลือกซื้อสินค้า และมีระบบการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออก และสามารถสร้างผู้บริโภคเพิ่มขึ้นได้ถึง 15 ล้านคน
4. เพิ่มมูลค่าสินค้า GI ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและนอกประเทศ
5. การบริหารจัดการสินค้าเกษตรเพื่อรักษาสมดุลราคาทั้งพืชไร่ พืชสวน และปศุสัตว์ เพื่อรองรับผลผลิตประมาณ 75,000 ตัน/ปี
6. พัฒนาร้านค้าโชห่วยด้วยระบบการค้าสมัยใหม่ นำเทคโนโลยี ค้าออนไลน์มาช่วยบริหารจัดการร้านค้า พร้อมทั้งปรับภาพลักษณ์ร้านค้าให้สวยงาม เพิ่มช่องทางการขายผ่านออนไลน์ให้เข้าใกล้ลูกค้ามากขึ้น และส่งเสริมการแข่งขันให้เท่าเทียมกัน
7. ส่งเสริมการเติบโต SMEs ในท้องถิ่น ผ่านระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (THAI SME-GP) ให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดและเป็นคู่ค้ากับภาครัฐได้ และ
8. สนับสนุนและสร้างมาตรฐานธุรกิจ E-Commerce โดยส่งเสริมให้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พร้อมรับเครื่องหมาย DBD Registered การันตีความมีตัวตน และเครื่องหมาย DBD Verified รับรองความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับ ‘การสร้างอาชีพด้วยแฟรนไชส์’ เพราะเป็นกลไกสำคัญที่จะพา SMEs และผู้ว่างงานให้มีงานทำ เดินไปสู่ความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงสร้างการลงทุนในประเทศแบบก้าวกระโดด เศรษฐกิจเกิดการกระเพื่อมแบบคลื่นลูกใหญ่ส่งผลให้เศรษฐกิจทุกภูมิภาคเกิดการหมุนเวียน ทั้งนี้ เพื่อให้การผลักดันครั้งนี้สำเร็จเป็นรูปธรรม กระทรวงฯ ได้สั่งการให้พาณิชย์จังหวัดร่วมมือกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) ในแต่ละพื้นที่คัดเลือกทำเลการค้าที่ดีในท้องถิ่นของตนเองไม่น้อยกว่า 10-20 แห่ง รวม 4000 ทำเลสร้างพื้นที่ขายสินค้าให้ผู้จะสร้างอาชีพ คนรุ่นใหม่ นักศึกษาจบใหม่ นอกจากนี้ ได้ประสานงานกับกระทรวงพลังงานจัดหาทำเลการค้าที่ดีสำหรับธุรกิจ ปั๊มน้ำมัน ที่มีการสัญจรสูงของการเดินทางและเป็นแหล่งใช้จ่ายเงิน