เมื่อเวลา09.00น.ของวันที่28ธันวาคม ที่ห้องประชุมภายในเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ นายอาคมเจตน์ พันเฉลิมชัยโชค นายกเทศมนตรี เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ พร้อมด้วยนางสาวนริศรา ทิพยางกูร ปลัดอาวุโสอำเภอศรีราชา กำนัน-ผู้ใหญ่ ผู้นำชุมชุม และกลุ่มตัวแทนภาคประชาชนจากกว่า150คน ในพื้นที่หมู่ที่.3-4-5-6และ8 ตำบลบ่อวิน และในพื้นที่หมู่ 4 ตำบลมาบยางพร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เข้าร่วมรับฟังกว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้งโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม บริษัท พาวเวอร์วัตต์1 จำกัด ในพื้นที่หมู่6ตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชาจังหวัดชลบุรี ซึ่งโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรมแห่งนี้ มีการใช้เชื้อเพลิงจากขยะอุตสาหกรรม อันที่จริงยังไม่ถึงขั้นเป็นขยะ เป็นเพียงเศษวัสดุที่เหลือใช้จากการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า เช่น เศษกระดาษ เศษไม้ เศษผ้า เศษยาง เศษหนังและพลาสติก ซึ่งไม่ใช่ขยะพิษแต่อย่างไร ด้วยความเชื่อคิดว่าถ้าขยะจากโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นขยะอันตราย ทางบริษัทมีขั้นตอนที่มาของเชื้อเพลิง มีกระบวนผลิต SRF (Solid Recovered Fuel) กล่าวคือ มีการคัดแยกขยะหรือเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว เข้ากระบวนการสับหรือตัดให้ละเอียด ก่อนอัดก้อน นี่คือขบวนการผลิต SRF ซึ่งควบคุมความชื้นไม่เกิน 20% จึงง่ายต่อการเผาไหม้ในส่วนของเทคโนโลยีผลิตกระแสไฟฟ้า เราใช้ระบบความร้อนด้วยการเผาไหม้ นำความร้อนที่ได้ไปต้มน้ำ เพื่อนำไอน้ำไปกำหนิดกระแสไฟฟ้า โดยใช้วิธีแบบตะกรับเคลื่อนที่หรือ Step Grate ซึ่งจะให้ความร้อน 850-1,100 องศาC ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ ไม่เกิดควันหรือคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถควบคุมการเกิดสารไดออกซิน (Dioxin)และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ได้ กระบวนการผลิตของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ มีการควบคุมทุกขั้นตอน โดยเฉพาะเผาไหม้ที่ใช้อุณหภูมิที่สูง ทำให้เกิดการเผาไหม้สมบูรณ์ไม่มีควัน ขณะเดียวกันโรงงานไฟฟ้าฯยังใช้ระบบเทคโนโลยีควบคุมมลสารหรือมลพิษทางอากาศไว้ทุกขั้นตอนและมีการติดตั้งระบบCEMs เพื่อตรวจวัดปริมาณมลพิษทางอากาศ 24 ชม.ซึ่งมีอยู่ 2 จุดคือ บริเวณหน้าโรงไฟฟ้าและที่สำนักงานการนิคมอุตสาหกรรมนครหลวง จึงกล้ายืนยันได้ว่า กระบวนการผลิตดังกล่าว ยังสามารถควบคุมมลสารทางอากาศได้เช่น ค่า Nox,SOx,TSP,HCI และไดออกซิน ตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ น้ำที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า เป็นน้ำประปาจากนิคมฯ โดยจะมีการใช้น้ำ 1,000 ลบ.ม.ต่อวัน หลังจากผ่านกระบวนการต้มและนำไอน้ำไปปั่นกังหันกำเนินไฟฟ้า (Turbine Generator) และส่งต่อไปยัง หม้อแปลงไฟฟ้า (Electrical transformer) เพื่อผลิตไฟฟ้า น้ำที่เหลือจากกระบวนการผลิต จะถูกนำไปใช้หมุนเวียนในระบบต่อไป จะไม่มีการปล่อยน้ำที่ผ่านระบบออกสู่นอกโรงงานไฟฟ้า ในส่วนเถ้าที่เกิดจากการเผาไหม้ ทางบริษัทฯ ก็จะส่งนำไปกำจัดยังหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับโรงไฟฟ้าให้แห่งนี้ใช้วัสดุเชื้อเพลิงต่อวันประมาณ 200 ตัน มีการเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง ในหนึ่งปีหยุดเพียง 3 ครั้งเพื่อตรวจเช็คและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ โรงงานแห่งนี้มีกำลังผลิตไฟฟ้า 7 เมกกะวัตต์ แบ่งขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 5.5 เมกกะวัตต์ ที่เหลือไว้ใช้ภายในโรงงาน
ส่วนประโยชน์ที่ชุมชนได้รับจากโรงไฟฟ้าแห่งนี้ เพิ่มอัตราการจ้างงาน สร้างรายได้ในกับชุมชนและสร้างความเจริญให้กับคนในพื้นที่กว่า 80% และยังเสียภาษีบำรงพื้นที่ โดยเฉพาะภาษีโรงเรือนให้กับท้องถิ่นได้พัฒนาพื้นที่ของตนเอง และที่สำคัญยังมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโดยทางบริษัทฯบริจาคให้ปีละ 600,000 บาทหรือ(ตามกฎหมายกำหนด)ถือเป็นการคืนกำไรให้กับพื้นที่ ในปัจจุบันบริษัทฯมีโรงไฟฟ้าอยู่ในเครือ 3 แห่งคือ โรงไฟฟ้าแห่งนี้คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงไฟฟ้าที่จังหวัดสระบุรี และโรงไฟฟ้าที่จังหวัดพิจิตร สำหรับโครงการที่จะพัฒนาต่อไป ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลบ่อวิน จังหวัดชลบุรี