เศรษฐกิจจีนจีนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจาก GDP ของจีนคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงประมาณสองเท่าครึ่ง
@suebjarkkhao “จีน” รั้งเบอร์ 1ขับเคลื่อนจีดีพีโลก แม้อัตราการเติบโตน้อยกว่าอินเดีย เศรษฐกิจจีนจีนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจาก GDP ของจีนคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงประมาณสองเท่าครึ่ง เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2567 ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจล่าสุด ระบุว่า จีนจะยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่สำคัญที่สุด แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงก็ตาม โดย ADB คาดการณ์ว่า GDP ของจีนจะขยายตัว 4.8% ในปี 2567 ต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลจีนวางเอาไว้ที่ประมาณ 5% หลังจากที่เศรษฐกิจจีนขยายตัว 5.2% ในปี 2566 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่รัฐบาลจีนวางเอาไว้ที่ประมาณ 5% แม้ว่าเศรษฐกิจของจีนจะเติบโตชะลอตัวลง แต่ ADB ประมาณการว่า จีนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจาก GDP ของจีนคิดเป็นสัดส่วน 48% ในเอเชีย 46% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ 18% ของจีดีพีโลก โดยอิงตามอัตราแลกเปลี่ยนความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (PPP) ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ใช้โดย ADB, ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขณะที่อินเดีย ซึ่งมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก โดยขยายตัว 8.4% ในไตรมาสเดือนต.ค.-ธ.ค. ของปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ และ ADB คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวสูงที่สุดในภูมิภาคที่ 7% ในปี 2567 และ 7.2% ในปี 2568 อย่างไรก็ตาม ADB ระบุว่า แม้เศรษฐกิจอินเดียมีความสดใส แต่ยังมีขนาดเล็กกว่าจีน ซึ่งข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนความเสมอภาคของอำนาจซื้อ สะท้อนว่าเศรษฐกิจจีนยังคงมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงประมาณสองเท่าครึ่ง สืบจากข่าว รายงาน
♬ เสียงต้นฉบับ – Suebjarkkhao – Suebjarkkhao
เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2567 ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจล่าสุด ระบุว่า จีนจะยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่สำคัญที่สุด แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลงก็ตาม
โดย ADB คาดการณ์ว่า GDP ของจีนจะขยายตัว 4.8% ในปี 2567 ต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลจีนวางเอาไว้ที่ประมาณ 5% หลังจากที่เศรษฐกิจจีนขยายตัว 5.2% ในปี 2566 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายที่รัฐบาลจีนวางเอาไว้ที่ประมาณ 5%
แม้ว่าเศรษฐกิจของจีนจะเติบโตชะลอตัวลง แต่ ADB ประมาณการว่า จีนยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก เนื่องจาก GDP ของจีนคิดเป็นสัดส่วน 48% ในเอเชีย 46% ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และ 18% ของจีดีพีโลก โดยอิงตามอัตราแลกเปลี่ยนความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (PPP) ซึ่งเป็นมาตรวัดที่ใช้โดย ADB, ธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)
ขณะที่อินเดีย ซึ่งมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก โดยขยายตัว 8.4% ในไตรมาสเดือนต.ค.-ธ.ค. ของปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ และ ADB คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจอินเดียจะขยายตัวสูงที่สุดในภูมิภาคที่ 7% ในปี 2567 และ 7.2% ในปี 2568
อย่างไรก็ตาม ADB ระบุว่า แม้เศรษฐกิจอินเดียมีความสดใส แต่ยังมีขนาดเล็กกว่าจีน ซึ่งข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนความเสมอภาคของอำนาจซื้อ สะท้อนว่าเศรษฐกิจจีนยังคงมีขนาดใหญ่กว่าอินเดียถึงประมาณสองเท่าครึ่ง
Post Views: 80