วันจันทร์, มิถุนายน 3, 2024
หน้าแรกต่างประเทศจีนสะพาน “เซินเจิ้น–จงซาน” พร้อมเปิดบริการภายในปีนี้

Related Posts

สะพาน “เซินเจิ้น–จงซาน” พร้อมเปิดบริการภายในปีนี้

สะพานเซินเจิ้น – จงซาน ในมณฑลกวางตุ้ง หนึ่งในโครงการเมกะโปรเจ็กต์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ กวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (GBA) เตรียมเปิดบริการภายในปีนี้ ด้วยอุโมงค์ใต้ทะเลที่มีความยาว 6.80 กิโลเมตร ก่อสร้างด้วยโครงสร้างเหล็กใต้น้ำกว้างที่สุดในโลก ทำให้การเดินทางเชื่อมระหว่าง 2 เมือง ใช้เวลาเพียง 30 นาที เชื่อมโยงอาเซียนและโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางอย่างสมบูรณ์แบบ เป็นแหล่งการค้าด้วยสกุลเงินหยวนระดับโลก

โครงการ Greater Bay Area (GBA) เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษในมณฑลกวางตุ้ง ประกอบด้วย กวางตุ้ง ฮ่องกง มาเก๊า สร้างขึ้นเพื่อเชื่อมโยงอาเซียนกับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt, One Road) ของจีนด้านตะวันออก มุ่งหวังเป็นแหล่งการค้าระหว่างประเทศด้วยสกุลเงินหยวนเต็มรูปแบบ

จุดเด่นของ GBA คือเป็นศูนย์กลางการค้า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน (cross-border e-commerce) และนวัตกรรม ซึ่งหากเมืองใน GBA ในมณฑลกวางตุ้งสามารถผนึกกำลัง และมีการเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ที่ดี พื้นที่ GBA จะกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนแห่งภูมิภาค โดยมีการจัดสร้างโครงการพื้นฐานด้านคมนาคมในมณฑลกวางตุ้ง ให้เชื่อมโยงการเดินทางถึงกันภายในเวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง เช่น โครงการก่อสร้างสะพานเซินเจิ้น – จงซาน (มณฑลกวางตุ้ง)  ซึ่งเตรียมเปิดใช้ในปี 2024 นี้ ซึ่งจะทำให้การเดินทางเชื่อมระหว่าง 2 เมือง ใช้เวลาเพียง 30 นาที

โครงการสะพานเซินเจิ้น – จงซาน มีการก่อสร้างอุโมงค์ใต้น้ำ ความยาว 6.80 กิโลเมตร ด้วยโครงสร้างเหล็กใต้น้ำที่กว้างที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังก่อสร้างสะพานความยาวรวมกว่า 24 กิโลเมตร รวมถึงการสร้างเกาะทางตะวันตก มีขนาดเท่ากับสนามฟุตบอล 19 สนาม เพื่อเชื่อมสะพานกับอุโมงค์เข้าด้วยกัน

หากโครงการนี้สำเร็จ จะช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Greater Bay Area) ให้เป็นพื้นที่อ่าวการค้า การลงทุน ระดับโลก รองรับรถประมาณ 100,000 คันต่อวัน โดยร้อยละ 40 เป็นรถบรรทุก ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจีนได้อย่างมาก 

ขณะที่เมืองไทยก็จะได้ประโยชน์ในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการค้า การลงทุน มีการพัฒนาเชิงพื้นที่ระหว่าง GBA กับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ด้วยการเชื่อมโยงทางอากาศกับสนามบินอู่ตะเภา สร้างเส้นทางบกและทางรางผ่านทาง สปป.ลาว มายังปลายทางที่ EEC ซึ่งมีแผนการพัฒนาท่าเรือบก (Dry port) เชื่อมโยงกับท่าเรือบกประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงจีนตอนใต้ เช่น ฉงชิ่งและคุนหมิง ผ่านท่าเรือน้ำลึกระนอง เขาสู่กลุ่มประเทศเอเชียใต้และนานาประเทศในยุโรป

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

spot_img

Latest Posts